วันอาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ตัวอย่างการเล่นดนตรี




วันเสาร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2553

หนึ่งในเหล่าบรรดากลองที่มีให้เลือกใช้งานอยู่ในปัจจุบันนี้ ยังมียี่ห้อหนึ่งที่ก้าวขึ้นมาอยู่ในชั้นแนวหน้าจนมือกลองหลายๆคนไว้วางใจเลือกใช้งาน ด้วยระยะเวลาที่ผ่านมาอย่างยาวนานจนเป็นที่ไว้วางใจและได้ขึ้นชื่อว่าเป็นกลองที่ดีที่สุดไม่แพ้ใคร วันนี้เราจะนำทุกคนย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้นของกลองยี่ห้อนี้ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร และทุกคนจะรู้จักกับ “ Pearl ” มากขึ้น

Pearl ก่อตั้งขึ้นโดยชาวญี่ปุ่นนามว่า Katsumi Yanagisawa และก่อตั้งโรงงานขึ้นมาในจังหวัด Sumida
ในประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 2 เมษายน ปี 1946 เพื่อเป็นโรงงานทำเครื่องดนตรี ก่อนที่ปี 1950 จะปรับเปลี่ยนธุรกิจทางด้านทำเครื่องดนตรีทั่วๆไป หันมาเน้นการทำเครื่องดนตรีอย่างกลองเพียงอย่างเดียว และใช้ชื่อบริษัทว่า " Pearl Industry, Ltd."

ปี 1953 , ได้มีการเปลี่ยนชื่อบริษัทอีกครั้งมาเป็น " Pearl Musical Instrument Company " และทำการเพิ่มเติมขยายชิ้นงานในส่วนที่เกี่ยวกับกลองมากขึ้น รวมถึงกลองที่ใช้ในวงมาร์ชชิ่ง ,กลอง timpani (กลองชุดใหญ่ในวงออเคสตร้า) ,เพอคัสชั่นทั้งหลายที่ใช้ในเพลงละติน ,ฉาบ ,อะไหล่,อุปกรณ์เสริมและทุกอย่างที่เกี่ยวกับกลอง

ปี 1957 , Mitsuo ลูกชายตนโตของ Katsumi ได้เข้ามาช่วยงานของ Pearl Musical Instrument Company อย่างเป็นทางการ และเขาคนนี้เป็นแรงขับเคลื่อนให้กับบริษัทได้เป็นอย่างดี และยังขยายกิจการโดยการส่งออก Pearl ออกขายไปทั่วโลกอีกด้วย Pearl ก้าวกระโดดเป็นธุรกิจที่ใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็ว พวกเขายังตัดสินใจสร้างโรงงานแห่งใหม่ขึ้นในขนาด 15,000 ตารางฟุตในจังหวัด Chiba ในปี 1961 อีกด้วย

Mitsuo ยังได้วางแผนระยะยาวที่จะทำให้ Pearl กลายมาเป็นเครื่องดนตรีที่อยู่แถวหน้า โดยครั้งนี้เขาเล็งเป้าหมายในเรื่องของการผลิตเพอคัสชั่น ในนามของ Pearl แผนธุรกิจครั้งนี้เขาต้องการที่จะทำให้เครื่องดนตรีอย่างเพอคัสชั่นขึ้นมาเป็นอันดับหนึ่ง ภายใต้แผนการนี้เขาได้วางไว้ว่า
1. เพอคัสชั่นที่ผลิตขึ้นมาต้องมีมาตราฐานเรื่องคุณภาพที่สูงมากและใช้เครื่องหมายการค้าในนามว่า Pearl
2. เพิ่มเครื่องจักรให้มากขึ้นในโรงงานที่ Chiba เพื่อรองรับการผลิตสินค้าที่จะเพิ่มมากขึ้น
3. ก่อตั้งโรงงานเพิ่มเติมในประเทศ Taiwan
4. จัดระบบการขายให้ครอบคลุมไปทุกที่ในโลก

และอีกส่วนหนึ่งของแผนธุรกิจในครั้งนี้ Pearl ได้ผลิตเซ็ทกลองสำหรับมือโปรทั้งหลาย โดยใช้ชื่อกลองเซ็ทนี้ว่า "President Series," ออกมาให้มือกลองทั่วโลกได้เห็นในปี 1966 กลองในนาม Pearl กลายเป็นที่ต้องการอย่างมากในวงการดนตรีร็อกแอนด์โรลในยุคนั้น และในปี 1973 บริษัท Pearl ใน Taiwan กลายเป็นโรงงานขึ้นมาอย่างสมบูรณ์แบบ และก็มีกลองในเซ็ทต่างๆออกมาอย่างต่อเนื่อง และนอกจากนี้ Pearl ยังมีโครงการที่สนับสนุนศิลปินอย่างมากมาย โดยไม่ว่าจะเป็น Yukihiro Awaji (L'arc~en~ciel) , Igor Cavalera (Sepultura) , Virgil Donati (Planet X) , Joey Jordison (Slipknot) , Vinnie Paul (Damageplan) หรือ Chad Smith (Red Hot Chili Peppers) และอีกมากมาย ต่างก็เลือกใช้เครื่องดนตรีอย่าง Pearl เป็นหลัก จวบจนถึงทุกวันนี้ Pearl กลายเป็นที่นิยมอย่างยิ่งในหมู่คนดนตรีที่เล่นกลองทั่วโลก และ Pearl ก็ยังคงผลิตสิ้นค้าที่เกี่ยวกับกลองออกมาอย่างต่อเนื่องในรูปแบบที่หลากหลายกว่าเดิมอีกด้วย

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับกลองชุด


กลองชุดเป็นชื่อเรียกภาษาไทย มีความหมายถึง กลองหลายใบ ภาษาอังกฤษ
ใช้ Team Drum หรือ Jass Drum ทั้งสองชื่อมีความหมายเหมือนกัน คือ การบรรเลงกลอง
ครั้งละหลายใบ คำว่า “แจ๊ส (Jass) หมายถึง ดนตรีแจ๊ส ซึ่งใช้กลองชุดร่วมบรรเลง จึงเรียกว่า Jass Drum และยังมีชื่อเรียกกลองชุดเป็นภาษาอังกฤษ ว่า Dance Drumming หมายถึงกลองชุดใช้บรรเลงจังหวะเต้นรำ
กลองชุดประกอบด้วย กลองลักษณะต่างๆหลายใบ และฉาบหลายอันมารวมกัน โดยใช้ผู้บรรเลงเพียงคนเดียว กลองชุดนี้ตามประวัติของดนตรีไม่ปรากฏว่าได้เข้าร่วมบรรเลงกับวงดนตรีดุริยางค์สากล ซึ่งเป็นวงดนตรีขนาดใหญ่ แต่ใช้บรรเลงร่วมกับวงดนตรีแจ๊ส และวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีน้อยชิ้นบรรเลงได้แก่ วงคอมโบ้ (Combo) วงสตริงคอมโบ้ (String Combo) ฯลฯ
กลอง จัดว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เก่าแก่ที่สุดในจำพวกเครื่องดนตรีทั้งหมด ในอดีตมนุษย์
ขึงหนังสัตว์บนรูกลวงของท่อนไม้ และตีหนังสัตว์ด้วยนิ้วและมือ จากการศึกษาประวัติศาสตร์พบว่า คนตีกลองพื้นเมืองจะตีกลองเป็นจังหวะ สำหรับการเต้นรำระหว่างเผ่า แต่ปัจจุบันพบว่า การบรรเลงกลองชุดจะเด่นที่สุดในส่วนของวงดนตรี สำหรับการเต้นรำ คนตีกลองพยายามปรับปรุงวิธีการ
บรรเลง โดยบรรเลงตามจังหวะที่ได้ยินแล้วนำมาปรับปรุงโดยการคิดค้นระบบใหม่ขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นระบบที่ได้ริเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก โดยการบันทึกอัตราส่วนของจังหวะกลองในบทเพลง การบันทึก
บทเพลงนั้นประกอบด้วย ทำนองเพลง การประสานเสียงและจังหวะ ทำให้ดนตรีมีการประสานเสียงกลมกลืน เพิ่มความไพเราะมากยิ่งขึ้น การริเริ่มพัฒนากลองชุดเป็นครั้งแรก โดยเริ่มต้นจากบทเพลงจังหวะวอลซ์ (Waltz)
ในช่วง ค.ศ. 1890 ถึง ค.ศ. 1910 นักตีกลองชุดเริ่มแยกออกจากแบบดั้งเดิม พยายามที่จะแสดงออกถึงความรู้สึกที่เป็นอิสระของดนตรี แทนแบบเก่าที่มีแบบแผนบังคับ ให้ปฏิบัติตามการแสดงถึงความก้าวหน้าของนักตีกลองชุดคือ จะเติมความสนุกสนานลงในช่วงปลายประโยคเพลง หรือต้นประโยคเพลงแล้วจึงบรรเลงตามบทเพลงที่กำหนด ซึ่งเป็นเพียงการบรรเลงให้ถูกต้องตามจังหวะเพลงเท่านั้น การแสดงความก้าวหน้านี้เป็นการคิดค้นเพื่อการสร้างสรรค์จากแรงบันดาลใจภายในโดยตรงของนักตีกลองชุด
ปี ค.ศ. 1910 ถึง ค.ศ. 1920 จังหวะ แร็กไทม์ (Ragtime) ได้รับความนิยมมากเพราะเป็นจังหวะใหม่และน่าตื่นเต้น ลักษณะจังหวะแร็กไทม์ เป็นจังหวะเร็ว และรวบรัดชวนให้เต้นรำ
สนุกสนาน เป็นที่ชื่นชอบของชนชาวผิวดำ แต่นักตีกลองส่วนใหญ่ โดยเฉพาะคนรุ่นเก่าปฏิเสธ
ของใหม่ โดยตระหนักถึงรูปแบบจังหวะของดนตรีอิสระ และเรียกพวกนักตีกลองชุดจังหวะ
แร็กไทม์ว่า “ของปลอม” เพราะบรรดานักตีกลองชุดรุ่นใหม่บรรเลงโดยการใช้ความจำและบรรเลงอย่างใช้อิสระโดยไม่ใช้โน้ตเพลง ถึงแม้ว่าจะเป็นการบรรเลงโดยปราศจากตัวโน้ต แต่ผู้บรรเลงสามารถอ่านและเข้าใจอารมณ์ของดนตรีได้เป็นอย่างดี ที่สำคัญก็คือ สามารถบรรเลงได้อย่าง
ดีเยี่ยม
ต้นศตวรรษที่ 20 ปี ค.ศ. 1920 ดนตรีแจ็สเริ่มได้รับความนิยมอย่างช้าๆ บรรดา
นักตีกลองชุดรุ่นเก่าที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงการบรรเลงจำต้องยอมพ่ายแพ้แก่นักตีกลองชุดรุ่นใหม่ที่มีชื่อเสียง จังหวะการบรรเลงค่อยๆเริ่มเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและรสนิยมของผู้ฟัง แต่อย่างไรก็ตาม นักตีกลองจะต้องทราบเกี่ยวกับการรัวการทำเสียงให้
สั่นสะเทือน และความรู้เกี่ยวกับหนังกลองหรือแผ่นพลาสติกที่จะทำให้ขึงตึงพอดีไม่หย่อนหรือตึงเกินไป นักตีกลองที่ดีและเก่งที่มีความรู้รอบตัวมักจะหางานได้ง่าย แต่ผู้ที่มีความรู้อย่างดีเรื่อง
เครื่องเคาะตีทั้งหมดก็จะได้งานที่ดีกว่า
ต่อมาในปี ค.ศ. 1928 ถึง ค.ศ. 1935 เป็นยุคของซิมโพนิค-แจ๊ส (Symphonic- Jass) จังหวะของดนตรีมีทั้งจังหวะเร็วและช้า การบรรเลงจังหวะช้านั้น เริ่มมีการใช้แปรงลวด (Wirebrushes) หรือภาษานักตีกลองเรียกว่า “แซ่” นักตีกลองต้องเรียนรู้เกี่ยวกับแปรงลวด ถึงวิธีการใช้และวิธีการบรรเลงและนักตีกลองต้องเป็นผู้ที่ตั้งจังหวะในบทเพลงพร้อมทั้งยึดจังหวะให้มั่นคง เครื่องดนตรีอื่นๆจะปฏิบัติตามจังหวะกลองชุด
ปี ค.ศ. 1935 จังหวะแบบใหม่ที่มีชื่อว่า สวิง (Swing) เริ่มแพร่หลายช่วงตอนต้นของปี บทเพลงทุกเพลงต้องมีกลองชุดเข้าร่วมบรรเลงด้วยเสมอ นับเป็นครั้งแรกที่นักตีกลองชุดเข้าถึงจุดสุดยอด ซึ่งมีความสำคัญมาก จัดอยู่ในระดับสูงสุด เพราะไม่มีงานไหนจะสมบูรณ์แบบถ้าขาดกลองชุดและการบรรเลงเดี่ยว (Solo) ถึงขนาดนักตีกลองชุดที่เก่งๆมีชื่อเสียงนำชื่อของตนเองมาตั้งเป็นชื่อของวงดนตรี ในยุคนี้จึงถือว่าเป็นยุคของนักตีกลองชุดที่ประสบความสำเร็จอย่างสูง
จากประวัติของกลองชุดที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่ารูปแบบการบรรเลงกลองชุดได้พัฒนาขึ้นตามลำดับมีการเปลี่ยนแปลงจังหวะตามยุคตามสมัย สำหรับนักตีกลองชุดผู้ที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงคงยึดถือตามแบบฉบับเดิมก็จะไม่ได้รับความนิยม การที่ไม่ปรับปรุงพัฒนาตนเองนั้นทำให้อยู่ในสังคมของดนตรีไม่ได้ เพราะจะถูกคนที่พัฒนาตนเองหรือคนยุคใหม่แย่งงานไปหมด นักตีกลองที่ดีและเก่งจะประสบความสำเร็จได้อย่างมีพื้นฐานที่ดีและมีหลักการอย่างดีอีกด้วย
ช่วงระยะสงครามโลกครั้งที่สอง ปี ค.ศ. 1940 เป็นระยะที่มีความต้องการด้านดนตรีสวิงมาก นักตีกลองชุดมีงานมากเพราะทหารต้องการฟังเพลงหลังจากออกรบ รัฐบาลได้ส่งวงดนตรีไปปลอบขวัญทหาร ซึ่งเป็นการช่วยเหลือให้ทหารมีขวัญและกำลังใจสามารถสู้รบจนชนะข้าศึก และสงคราม ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนช่วยในกิจกรรมครั้งนี้
หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง รสนิยมของบุคคลทั่วไปเริ่มเปลี่ยนแปลง
ดนตรีแบบคอมโบ้ (Combo) เริ่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย นักตีกลองเริ่มเบื่อหน่ายการบรรเลงจังหวะเก่าๆ มีการริเริ่มจังหวะใหม่ๆ โดยใช้กลองใหญ่ช่วยเน้นจังหวะ เรียกว่า บ๊อพ (Bop) หลังจากนั้นจึงเข้าสู่ยุคของการบรรเลงด้วยนิ้วมือ (Finger Drumming Techinque) คือการบรรเลงด้วยเทคนิคที่ใช้นิ้วมือปฏิบัติทั้งสองข้าง โดยใช้ไม้ตีกลองมือขวา ตีฉาบด้านขวามือ ซึ่งเป็นการรักษาจังหวะให้มั่นคงแน่นอน แล้วเปลี่ยนมือขวามาตีไฮแฮท (Hi Hat) อยู่ด้านซ้ายมืออย่าง
ต่อเนื่อง เท้าขวาเหยียบที่กระเดื่องกลองใหญ่เน้นเสียงหนักแน่นมั่นคง มือซ้ายตีกลองเล็กและฉาบอย่างอิสระโดยการเน้นเสียง เช่น การตีเน้นเสียงที่ริมขอบกลอง หรือ การตีหนักๆที่กลางกลอง ผู้ที่มีเทคนิคการบรรเลงด้วยนิ้วมือได้ดี คือ โจ โจนส์ (JO JONES) โจนส์ใช้มือขวาตีที่หัวฉาบมือซ้ายตีขอบฉาบอย่างชำนาญและเชี่ยวชาญ
จังหวะต่างๆที่นิยมบรรเลง ตั้งแต่อดีตเรื่อยมามีจังหวะมากมายหลายรูปแบบ บางจังหวะ
ก็หายสาบสูญไป เพราะไม่ได้รับความนิยม แต่ก็มีจังหวะใหม่ๆเข้ามาแทนที่
ส่วนประกอบของกลองชุด
กลองชุดประกอบด้วยกลองลักษณะต่างๆ หลายใบและฉาบหลายอันมารวมกันโดยใช้ผู้บรรเลงเพียงคนเดียว กลองชุดนี้ตามประวัติของดนตรีไม่ปรากฏว่าได้เข้าร่วมบรรเลงกับวงดนตรีดุริยางค์สากล ซึ่งเป็นวงดนตรีขนาดใหญ่ แต่ใช้บรรเลงร่วมกับวงดนตรีแจ๊สและวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีน้อยชิ้นบรรเลงได้แก่วง คอมโบ้ วงสตริงคอมโบ้ ฯลฯ กลองที่ใช้ร่วมบรรเลงกับกลองชุดมีดังนี้
1. กลองใหญ่ (Bass Drum)
กลองใหญ่ มีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกับกลองใหญ่ที่ใช้บรรเลงในวงดุริยางค์สากลแต่ขนาดแตกต่างกันคือ ขนาดกลองใหญ่ของกลองชุดมีขนาดที่นิยมใช้ทั่วไป คือ ขนาด 14 x 20 นิ้ว หรือ 14 x 22 นิ้ว มีอุปกรณ์เหมือนกันกับกลองใหญ่วงดุริยางค์ทุกประการ เวลาบรรเลงไม่ต้องใช้ขอหยั่งรองรับ เพราะมีขาหยั่งติดมากับตัวกลอง เพียงแต่ดึงขอหยั่งออกทั้งสองข้างจะทำให้กลองไม่เคลื่อนที่ เป็นการยึดตัวกลองใหญ่ให้ติดอยู่กับพื้นกลองใหญ่ไม่ใช้ไม้ถือสำหรับตี ใช้กระเดื่อง (Pedal) ติดแท่งเหล็กกลมๆ ปลายหุ้มด้วยสักหลาดความยาวประมาณ 10 นิ้ว สำหรับเท้าข้างขวาเหยียบลงไปบนกระเดื่อง ปลายกระเดื่องส่วนบนจะทำหน้าที่แทนมือ
2. กลองเล็ก (Snare Drum)
กลองเล็ก เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกลองชุดรูปร่างลักษณะกลองเล็กที่ใช้บรรเลงร่วมกับกลองชุด มีลักษณะเหมือนกลองเล็กที่ใช้บรรเลงวงดุริยางค์วงใหญ่ทุกประการ หรือเป็นกลองเล็กอย่างเดียวกัน สามารถนำไปใช้บรรเลงร่วมกับวงดนตรีโดยทั่วไปได้กลองเล็กเป็นเครื่องดนตรีที่สำคัญที่สุดในจำพวกเครื่องเคาะตีทั้งหลายเพราะการบรรเลงตามบทเพลงของกลองเล็กจะทำหน้าที่บรรเลงจังหวะที่ขัดกับกลองใหญ่ โดยกลองใหญ่จะบรรเลงตามจังหวะหนัก และเบา กลองเล็กจะบรรเลงจังหวะขืนหรือจังหวะขัด มีลักษณะเหมือนกับหยอกล้อกัน และเป็นการกระตุ้นให้ผู้ฟังตื่นตัว มีอารมณ์ร่วมกับผู้บรรเลง เกือบจะทุกบทเพลงที่เปิดโอกาสให้กลองเล็กแสดงความสนุก คึกคัก และเป็นการเรียกร้องให้เครื่องดนตรีอื่นๆร่วมสนุกสนานด้วยนั่นคือ การบรรเลงกลองเล็กตอนปลายประโยคของบทเพลง ที่ภาษานักตีกลองเรียกว่า “ห้องส่ง” หรือ “บทส่ง” (Fill) ขนาดกลองเล็กที่นิยมใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 x 14 นิ้ว
3. ฉาบ (Cymbals)
ฉาบ เป็นส่วนประกอบอีกชิ้นหนึ่งของกลองชุด รูปร่างลักษณะเหมือนกับฉาบที่ใช้บรรเลงในวงดุริยางค์ โดยทั่วไปนิยมใช้ฉาบขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 20-30 นิ้ว ตั้งไว้ด้านข้างขวามือ และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16-18 นิ้ว ตั้งไว้ด้านข้างซ้ายมือ ฉาบทั้งสองใบนี้ไม่มีเชือกหนังสำหรับมือถือ แต่จะมีขาหยั่งรองรับทั้งสองใบ เวลาบรรเลงใช้มือขวาตีฉาบด้านขวามือเป็นหลัก เพราะมีเสียงก้องกังวานกว่า บางครั้งอาจสลับเปลี่ยนมาตีด้านซ้ายมือบ้างเป็นบางครั้ง
4. ไฮแฮท (Hi Hat)
ไฮแฮท คือ ฉาบสองใบเหมือนกับฉาบในวงดุริยางค์ แต่มีขนาดเล็กกว่า โดยทั่วไปนิยมใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 14-15 นิ้ว ฉาบทั้งสองใบนี้ไม่ใช้เชือกหนังร้อยสำหรับถือ เพราะมีขาตั้งรองรับ ใบที่หนึ่งใส่ลงบนขาตั้งโดยให้ด้านนูนอยู่ด้านล่าง จะมีแผ่นโลหะและสักหลาดรองรับ อีกใบหนึ่งใส่ลงบนขอตั้งโดยให้ด้านนูนอยู่ด้านบน มีที่ไขติดอยู่กับแกนของขาตั้ง โดยกะระยะให้ห่างกันพอประมาณ เพื่อไม่ให้ฉาบทั้งสองใบชิดติดกัน ช่วงล่างสุดมีกระเดื่องเหมือนกับกลองใหญ่สำหรับเหยียบให้ฉาบทั้งคู่กระทบกัน ไฮแฮทมีหน้าที่คอยขัดจังหวะหรือช่วยหนุนกลองเล็ก เน้นจังหวะขัดให้กระชับยิ่งขึ้น
5. ทอม ทอม (Tom Tom)
ทอม ทอม คือ กลองขนาดเล็กสองใบมีรูปร่างเหมือนกลองเล็ก แต่มีขนาดสูงกว่า ไม่ติดเส้นลวด ทอม ทอม ทั้งสองใบมีขนาดแตกต่างกัน ใบหนึ่งจะติดตั้งทางด้านซ้ายมือ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าอีกใบหนึ่ง ซึ่งติดตั้งด้านขวามือ โดยทั่วไปนิยมใช้ทอม ทอม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 x 13 นิ้วและขนาด 14 x 14 นิ้ว ทั้งสองใบจะมีรูด้านข้างสำหรับใส่แกนโลหะเพื่อติดตั้งบนกลองใหญ่ ระดับเสียงทอม ทอม ด้านซ้ายมือมีระดับเสียงสูงกว่าด้านขวามือ ทอม ทอม มีหน้าที่สร้างความสนุกคึกคัก โดยจะบรรเลงในบทส่ง หรือการเดี่ยวกลอง (Solo) เพื่อสร้างความรู้สึก การกระตุ้นให้เพลิดเพลินกับจังหวะ บทเพลงที่ใช้ ทอม ทอม บรรเลงมากที่สุด คือ เพลงประเภทลาติน
6. ฟลอร์ทอม (Floor Tom)
ฟลอร์ทอม มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่ง ว่า “ทอมใหญ่” (Large Tom) รูปร่างลักษณะเหมือนกับ ทอม ทอม ไม่ติดเส้นลวด ขนาดของฟลอร์ทอม สูงกว่าทอม ทอม มีขาติดตั้งกับตัวฟลอร์ทอม เวลาบรรเลงตั้งอยู่ด้านขวามือชิดกับกลองใหญ่ เสียงฟลอร์ทอมต่ำกว่าเสียงทอม ทอม แต่เสียงสูงกว่าเสียงกลองใหญ่ ฟลอร์ทอม ทำหน้าที่อย่างเดียวกับ ทอม ทอม โดยทั่วไปนิยมใช้ ฟลอร์ทอม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 x 16 นิ้ว

ประวัติ
lira da braccio เครื่องดนตรีที่คาดว่าเป็นแม่แบบของเครื่องดนตรีตระกูลไวโอลิน
ภาพ Suonatore di liuto (พ.ศ. 2138 - 2139) วาดโดย Michelangelo Merisi ซึ่งแสดงให้เห็นเครื่องดนตรีคล้ายๆไวโอลินวางอยู่บนโต๊ะ

ไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดไวโอลินได้ปรากฏขึ้นเมื่อช่วงเวลาใด แต่คาดว่าปรากฏขึ้นครั้งแรกในประเทศอิตาลีช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 16 ซึ่งเชื่อกันว่าผู้ผลิตนั้นดัดแปลงมาจากเครื่องดนตรียุคกลาง 3 ชนิด อันได้แก่ เรเบค (rebec) ซอเรอเนซองซ์ (the Renaissance fiddle) และ ลีรา ดา บราชโช (lira da braccio) ซึ่งเครื่องดนตรีทั้ง 3 ชนิดนี้มีลักษณะใกล้เคียงกับไวโอลิน แต่หลักฐานที่แน่นอนที่สุดก็คือ มีหนังสือที่ตีพิมพ์เกี่ยวกับไวโอลินในปี พ.ศ. 2099 (ค.ศ. 1556) แล้ว โดยได้ตีพิมพ์ที่เมืองลียง ประเทศฝรั่งเศส และคาดว่าช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ไวโอลินน่าจะเผยแพร่ไปทั่วทวีปยุโรปแล้ว

ไวโอลินที่ถือว่าเป็นคันแรกของโลกถูกสร้างขึ้นโดย อันเดร์ อมาตี (Andrea Amati) ในช่วงครึ่งศตวรรษแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 16 โดยการว่าจ้างของครอบครัวเมดิซี ซึ่งต้องการเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ต่อมาด้วยคุณภาพที่ดีของเครื่องดนตรี พระเจ้าชาลส์ที่ 4 แห่งฝรั่งเศส จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ อันเดร์ ประดิษฐ์ไวโอลินขึ้นมาอีก เพื่อมาเป็นเครื่องดนตรีบรรเลงประเภทใหม่ของวงออร์เคสตราประจำของพระองค์ และไวโอลินที่เก่าแก่สุดและยังให้เห็นอยู่ คือไวโอลินที่ อันเดร์ ประดิษฐ์ขึ้นในเมืองเครโมนา (Cremona) ประเทศอิตาลี ซึ่งได้ถวายแด่ พระเจ้าชาลส์ที่ 4 เช่นกันตรงกับปี พ.ศ. 2109 (ค.ศ. 1566)

แต่ไวโอลินที่น่าจะเก่าแก่และโด่งดังที่สุดน่าจะเป็นไวโอลินที่มีชื่อว่า เลอ เมสซี่ (Le Messie) หรือ Salabue ประดิษฐ์โดย อันโตนิโอ สตราดีวารี เมื่อปี พ.ศ. 2259 (ค.ศ. 1716) ซึ่งปัจจุบันเก็บรักษาอยู่ที่ Ashmolean Museum แห่ง อ๊อกซฟอร์ด

สกุลช่าง

สกุลช่างทำไวโอลินสามารถแบ่งออกได้ดังนี้ได้ดังนี้

  1. สกุลช่างเบรสเชีย (Brescian School: พ.ศ. 2063 - พ.ศ. 2163) สร้างสรรค์งานตามแนวทางที่ได้วางรากฐานไว้โดย Gaspard Duiffopruggar
  2. สกุลช่างเครโมนา (Cremona School: พ.ศ. 2093 - พ.ศ. 2309) ถือเป็นสกุลช่างทำไวโอลินที่สำคัญที่สุด ผลงานของสกุลช่างเครโมนาเกิดจากการสร้างสรรค์ของช่างในตระกูล Amati, Stradivari, Guarneri, Bergonzi, Guadagnini ฯลฯ
  3. สกุลช่างเนเปิ้ลส์ (Neopolitan School: พ.ศ. 2223 - พ.ศ. 2343) สกุลช่างนี้จะถ่ายทอดผ่านทางช่างฝีมือทำไวโอลินชาวมิลานและเนเปิลส์ ประเทศอิตาลี ตระกูลช่างทำไวโอลินที่สำคัญได้แก่ตระกูล Grancino, Testore, Gagliano, Landofi ฯลฯ
  4. สกุลช่างฟลอเรนซ์ (Florentine School: พ.ศ. 2223 - พ.ศ. 2303) สกุลช่างนี้ฟลอเรนซ์จะรวมถึงช่างฝีมือทำไวโอลินชาวโรม และโบโลญญ่าด้วย ผ่านทางฝีมือของช่างทำไวโอลิน Gabrielli, Anselemo, Florentus, Techler และ Tononi
  5. สกุลช่างเวนิส (Venetian School: พ.ศ. 2233 - พ.ศ. 2307) สกุลช่างเวนิสนี้ได้เกิดขึ้นที่เมืองเวนิส โดยผ่านทางช่าง ได้แก่ Domenico Montagnana และ Sanctus Seraphin งานช่างสกุลนี้มีความใกล้เคียงกับงานของสกุลช่างโครโมนา
  6. สกุลช่างไทโรล (Tyrolese School: พ.ศ. 2183 - พ.ศ. 2239)

ผลงานสกุลช่างไทโรลนี้ได้ถ่ายทอดผ่านทางฝีมือของ Jakob Stainer และช่างในตระกูล Klotz และ Albani ฯลฯ

โครงสร้างไวโอลิน

ภาพแสดงการเรียกชื่อชิ้นส่วนต่างๆของไวโอลินในภาษาอังกฤษ

โครงสร้างของไวโอลิน เรียงจากบนไปล่าง

  • หัวไวโอลิน (Scroll)
  • โพรงลูกบิด (Pegbox)
  • คอ (Neck)
  • สะพานวางนิ้ว หรือ ฟิงเกอร์บอร์ด (Fingerboard)
  • (Upper Bout)
  • เอว (Waist)
  • ช่องเสียง (F-holes)
  • หย่อง (Bridge)
  • (Lower Bout)
  • ตัวปรับเสียง (Fine Tuners)
  • หางปลา (Tailpiece)
  • ที่รองคาง (Chinrest)

ขนาดมาตรฐานของไวโอลินคือ ยาว 23.5 นิ้ว และ คันชักยาว 29 นิ้ว

การดูแลรักษาไวโอลิน

ไม้กับความชื้น (Wood and Water)

Violin peg strings.jpg

ไม้ไม่สามารถรักษาสภาพของตัวเองได้ดีนักเมื่อถูกความชื้น แม้ว่าไม้จะคงรูปได้ดีขึ้นหลังจากที่ผ่านกระบวนการอบเป็นอย่างดีก็ตาม แต่ไม้ยังคงพองหรือบวมเมื่อถูกความชื้น และหดตัวเมื่ออากาศแห้ง ไม้ที่ใช้ทำชิ้นส่วนบางอย่างของไวโอลินจะคงรูปดีกว่าไม้ที่ใช้ทำเครื่องดนตรีอื่นๆ นอกจากนั้น ไม้ทุกชนิดจะหดตัวในแนวขวางของลายไม้มากกว่าการหดตัวตามยาว

ในช่วงเดือนที่มีความชื้นสูงๆ ไม้แผ่นหน้ามักจะเกิดการขยายตัวมากกว่าอาการคอไวโอลินตก ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้สายไวโอลินเหนือสะพานวางนิ้วลอยสูงขึ้น การเปลี่ยนแปลงของความชื้นในอากาศอาจเป็นสาเหตุให้การเล่นและการตอบสนองของเสียงเกิดการแกว่งตัว และอาจทำให้เกิดปัญหาที่หนักกว่านั้นคือ ไม้เกิดการปริแตกเมื่อสูญเสียความชื้นอย่างรวดเร็วกว่าที่มันดูดซึมเอาไว้ได้

การบิดตัวของไม้ (Distortion)

ธรรมชาติของไม้มีความยืดหยุ่นในตัวเอง อาจจะค่อยๆ เปลี่ยนรูปร่างไปตามแรงที่มากระทำ ช่างทำไวโอลินอาศัยข้อดีอันนี้ในการขึ้นรูปแผ่นไม้ด้านข้าง (Rib) หรือการดัดไม้

แต่หย่องที่งอ ไม้แผ่นหลังที่ยุบ และคอไวโอลินที่ตก เป็นผลมาจากแรงกดอย่างต่อเนื่อง เมื่อไม้เริ่มบิดตัว มันจะสูญเสียความแข็งแรงจากรูปทรงเดิมอย่างรวดเร็ว และอาจทำให้เกิดความเสียหายหนักตามมา

อุณหภูมิ (Temperature)

การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเป็นสาเหตุที่ทำให้ไม้เกิดการขยายตัวและหดตัวเช่นเดียวกับวัตถุอื่นๆ ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาของอุณหภูมิและ ความชื้นในไม้ ควรจะใช้กล่องไวโอลินแบบสูญญากาศอย่างดี และอย่าวางไว้ไกล้รังสีความร้อนหรือวางถูกแสงแดดโดยตรง กล่องไวโอลินเกือบทุกชนิดที่บุด้วยวัสดุผิวด้านสีเข้มจะมีผลต่อการดูดซับแสงให้แปรเปลี่ยนเป็นความร้อนได้มากกว่า

การเดินทาง (Travel) ขนส่ง (Shipping) การถือ (Carrying an instrument)

ถ้าเดินทางโดยรถยนต์ อย่าวางเครื่องดนตรีไว้ในกระโปรงท้ายรถ เพราะเครื่องดนตรีจะได้รับความร้อนมาก ทำให้ได้รับความเสียหาย

เมื่อต้องส่งเครื่องดนตรีไปทางพัสดุภัณฑ์ ให้คลายสายออกเล็กน้อยและใช้วัสดุนุ่มๆ บุที่หย่องทั้ง 2 ด้านเสียก่อน ควรเก็บเครื่องดนตรีไว้ในกล่องของมันเองเพื่อความปลอดภัย หลังจากนั้นให้ห่อในกล่องสำหรับส่งของ บุรอบๆ กล่องด้วยวัสดุสำหรับห่อกล่อง

ถ้าหกล้มในขณะถือเครื่องดนตรี โดยสัญชาติญาณของคนส่วนใหญ่จะกอดกล่องไวโอลินไว้ข้างหน้า เพราะคิดว่าจะช่วยป้องกันไม่ให้เครื่องดนตรีแตกหักได้ แต่น่าเสียดายว่ากลับทำให้เครื่องดนตรีพังมา ควรใช้กล่องที่แข็งแรงซึ่งจะยึดไวโอลินให้ลอยอยู่ในกล่องเพื่อป้องกันอุบัติเหตุจากการล้มคว่ำหงาย และพยายามหัดถือกล่องด้วยมือที่ไม่ถนัดให้เคยชิน เช่น ถือด้วยมือซ้ายถ้าคุณเป็นคนถนัดขวา ซึ่งจะทำให้เหลือมือข้างที่ถนัดไว้ป้องกันตนเองได้

การทำความสะอาด (Cleaning)

การเช็ดทำความสะอาดตัวเครื่องและคันชักด้วยผ้านุ่มๆ สะอาดๆ หลังการเล่นทุกครั้งเป็นสิ่งที่ควรทำให้เป็นกิจวัตร ใช้เศษผ้าชุบแอลกอฮอล์เพื่อขจัดการเกาะตัวของยางสนบนฟิงเกอร์บอร์ด และสาย

ภาพแสดงการเรียกชื่อชิ้นส่วนต่างๆของคันชักเป็นภาษาอังกฤษ

สิ่งที่ต้องระวังเป็นพิเศษคือระวังไม่ให้แอลกอฮอล์สัมผัสกับผิวของวานิช และควรจะให้ผู้เชี่ยวชาญตรวจเช็คสภาพไวโอลินเป็นประจำทุกๆ ปี ช่างอาจจะปล่อยรอยคราบบางอย่างเอาไว้ และใช้น้ำยาเคลือบผิวทับลงไปบนคราบสกปรกโดยไม่จำเป็นต้องเอาออกก็ได้ กรดจากผิวหนังของคุณสามารถทำลายผิวของวานิชได้อย่างช้าๆ ดังนั้นพยายามหลีกเลี่ยงการสัมผัสผิวของวานิช

คันชัก (Bow)

ควรจะจับคันชักบริเวณ Frog ในขณะดึงหางม้า (Hair) ให้ตึง เพราะจะช่วยลดแรงกดที่เกลียวสกรูทองเหลือง (Screw) ที่อยู่ข้างในโคนด้ามคันชัก และช่วยป้องกันไม่ให้เกลียวหวานได้

ในขณะที่คุณเล่นไวโอลินนั้น หางม้าที่อยู่ด้านข้างคันชักที่คุณลากลงมักจะขาดก่อนเพื่อน ทำให้ความสมดุลของแรงดึงบนคันชักเสียไปจนอาจทำให้คันชักงอได้ ดังนั้นพยายามเปลี่ยนหางม้าบ่อยๆ และพยายามรักษาหนังหุ้มด้ามคันชัก (Pad หรือ Grip) ให้อยู่ในสภาพดี ถ้านิ้วโป้งของคุณไปเสียดสีกับด้ามคันชักบ่อยๆ จะทำให้คันชักได้รับความเสียหายเช่นกัน พยายามตัดเล็บให้สั้นอยู่เสมอ และควรให้ความเอาใจใส่ปลายคันชัก (Tip) เป็นพิเศษ





เปียโนเป็นการขยายแนวความคิดมาจากพิณ ซึ่งความจริงแล้วหากเราพิจารณาดูลักษณะของเปียโน จะเห็นว่ามีลักษณะเหมือนพิณบรรจุอยู่ในหีบนั่นเอง และลักษณะความโค้งของพิณและ เครื่องสายที่อยู่ในเปียโน ก็มีลักษณะเหมือนกัน แต่ก็มีความแตกต่างกันในเรื่องการขึงสาย สายที่หนาและบางต่างกัน จะให้ระดับเสียงต่างกัน โดยเฉพาะสายของเปียโนที่ทั้งหนาและยาว ทำให้เปียโนมีเสียงที่แตกต่าง และมีระดับเสียงมากกว่า นอกจากนั้นการดีดที่หนักและเบาต่างกันก็เพิ่มความแตกต่างมากขึ้นอีกด้วย



ประวัติโดยตรงของเปียโนนั้นเปียโนมีต้นกำเนิดมาจากเครื่องดนตรีสองชนิด ได้แก่ ซอสเตอร์รี่(psaltery) และ ดูซิเมอร์ (dulcimer) โดยซอสเตอร์รี่ มีลักษณะเป็นกล่องตื้นๆที่ขึงสายขวางกันไว้ ที่ด้านบนสุดเพื่อดีด ดูซิเมอร์ ก็มีลักษณะคล้ายกัน แต่การดีดจะต้องออกแรงมากกว่า

ซอสเตอรรี่เป็นเครื่องนำร่องให้กับเปียโนโบราณที่เรียกว่า“ฮาฟซิกคอร์ด”(harpsichord) .และในเวลาไม่นานหลัง จากนั้นในปี ค.ศ. 1157 ได้มีการประดิษฐ์เปียโนที่เรียกว่า “คลาวีคอร์ด”(clavichord) โดยมีพื้นฐานจากดูซิเมอร์ ที่มีความสวยงามน่ารักมากกว่า ซึ่งมีลักษณะเป็นโมโนคอร์ด (mono chord) มีความโค้งสัมผัส หรือฆ้อนที่ตรึงอยู่ด้านหลังของคีย์ ซึ่งคีย์นี้เมื่อยกขึ้นก็สามารถสร้างสรรโน้ตได้ และเมื่อเพิ่มสายเข้าไป ก็ทำให้ “คลาวีคอร์ด” เป็นเครื่องดนตรีที่มีชีวิตชีวาในปี ค.ศ. 1400 “คลาวีคอร์ด” มีประมาณ 10 สาย และสามารถเล่นได้ในรูปแบบที่ทันสมัย สายเปียโนส่วนใหญ่เป็นเส้นลวด แต่ก็ไม่เสมอไป จากต้นกำเนิดดังกล่าว พิณและเปียโน เป็นเครื่องดนตรีที่มีสายที่ทำจากทองเหลือง ทอง เงิน ตะกั่ว ขนม้า และแม้แต่บางครั้งทำมาจากรากไม้

คลาวีคอร์ด มีลักษณะเหมือนเปียโนกล่องเล็กที่สามารถถือได้ ในปี ค.ศ. 1450 คีย์บอร์ด ได้มีการพัฒนาในการตั้งและวางสายที่เรียกว่า “สปินเน็ท” (spinet) ซึ่งประดิษฐ์ขึ้นโดยชาวอิตาเลียนที่ชื่อว่า “จีโอวานนิ สะปินเน็ท” (Giovanni Spinette) และต่อมาได้มีการพัฒนาให้มีการนั่งเวลาเล่นเครื่องดนตรีชนิดนี้
นักเปียโนที่มีชื่อเสียง ได้แก่ โมสาร์ท (Mozart) บีโทเฟน (Beethoven) และ สตร็อท (Strauss) ซึ่งมารดาของ โมสาร์ทเป็นผู้กระตุ้นเร้าให้เขาเล่น major C scale ตั้งแต่อายุเจ็ดปีและจากเขาไปเมื่ออายุสิบแปดปี ระบบเสียงที่มีความไพเราะของเปียโน ที่ได้รับการประดิษฐ์สร้างสรรค์ มีอานุภาพต่อผู้ที่ได้รับฟัง ขณะที่เล่นได้อย่างอัศจรรย์และยอดเยี่ยม

เปียโน-Piano เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องคีย์บอร์ด-Keyboard instruments หมายถึง เครื่องดนตรีประเภทที่มีแถวลิ่มนิ้ว หรือคีย์บอร์ด สำหรับให้ผู้บรรเลงสัมผัสให้เกิดเสียง ก็มีเช่น เปียโน ออร์แกน ฮาร์มอเนียม ฮาร์พซิคอร์ด คลาวิคอร์ด
เปียโนหลังแรกแจ้งเกิดในค.ศ.1709 โดย บาร์โตลอมเมโอ คริสโตโฟรี (Bartolommeo Cristofori) ชาวเมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี เขานำฮาร์พซิคอร์ดหลังหนึ่งมาพัฒนาด้วยการประดิษฐ์ ลูกค้อน ขึ้นเพื่อใช้เคาะเส้นลวดให้เกิดเสียงแทนการใช้ควิลล์สะกิดเส้นลวดให้เกิดเสียงซึ่งเป็นระบบของฮาร์พซิคอร์ด
เขาเรียกชื่อเครื่องดนตรีน้องใหม่เป็นภาษาอิตาลีว่า Gravicembalo col piano e forte แปลเป็นภาษาอังกฤษว่า harpsichord with loudness and softness แปลเป็นไทยเท่ากับ ฮาร์พซิคอร์ดซึ่งส่งเสียงดังและเบาได้
ทั้งนี้เพราะฮาร์พซิคอร์ดตัวจริงไม่สามารถส่งเสียงดังและค่อยได้ด้วยมีแถวลิ่มนิ้วเพียงแถวเดียว ต่อมาคำยาวย่อเหลือแค่ เปียโน-ฟอร์เต้ แต่ก็มีคนเห็นว่ายังยาวอยู่ดีจึงพากันเรียกสั้นๆ ว่า เปียโน
จากนั้นมีนักประดิษฐ์ออร์แกนชาวเยอรมัน กอตต์ฟรีด ซิเบอร์มันน์ นำระบบกลไกเปียโนเข้าไปในเยอรมนี และในค.ศ.1726 เขาได้ประดิษฐ์เปียโนขึ้น 2 หลัง และเชิญ โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค คีตกวีผู้มีชื่อเสียงให้ลองเล่นดู แต่บาคไม่สู้จะติดอกติดใจเท่าใด กระทั่งปี 1747 บาคได้รับเชิญจากพระเจ้าเฟรเดริกมหาราชแห่งปรัสเซีย ให้เข้าเฝ้าที่ราชสำนักเมืองปอตส์ดัม ที่นั้นเขาได้เห็นเปียโนงดงามหลายหลัง ก็ของซิเบอร์มันน์นั่น แต่ได้รับการปรับปรุงใหม่
ซุมเป ซึ่งเป็นศิษย์ของซิเบอร์มันน์ ได้เข้าไปอยู่ในลอนดอนและได้ประดิษฐ์เปียโนสี่เหลี่ยมขึ้นเรียกว่า square pianoforte ชาวอังกฤษสนใจกันมากและได้ผลิตส่งขายไปยังภาคพื้นยุโรป (กาลต่อมา จอห์น บรอดวู้ด ชาวลอนดอน นับเป็นคนแรกที่ประดิษฐ์แกรนด์เปียโนที่สมบูรณ์หลังแรกเมื่อค.ศ.1796 คีตกวีก้องโลกอย่าง บีโธเฟ่น ก็นิยมเปียโนของนักประดิษฐ์ผู้นี้มาก)
เปียโนได้พัฒนาเรื่อยมาจนค.ศ.1777 เซบาสเตียน เอราด์ นักประดิษฐ์ชาวกรุงปารีส ได้สร้างเปียโนแบบพิเศษเป็น square piano มีแถวลิ่มนิ้ว 2 ข้าง และปรับปรุงกลไกภายในของเปียโนให้ดีขึ้น มาถึงยุคของ อัลฟิอุส แบบค้อก แห่งบอสตัน สหรัฐอเมริกา เป็นนักประดิษฐ์คนแรกที่ได้เปลี่ยนโครงซึ่งเป็นที่ยึดของเส้นลวดจากโครงไม้มาเป็นโครงเหล็กหล่อ และใช้กันมาจนทุกวันนี้
ปัจจุบันเปียโนมาตรฐานมี 88 คีย์ และมี 2 แบบ คือ 1.upright piano (box-shaped) เส้นลวดตั้งฉากกับพื้น ส่วนมากเป็นเปียโนที่ใช้เล่นกันตามบ้าน และ 2.grand piano (wing-shaped) เส้นลวดขนานกับพื้น มีหลายขนาดตั้งแต่ baby grand ยาวประมาณ 5 ฟุต จนถึง concert grand ยาวประมาณ 9 ฟุต
เปียโนสามารถบรรเลงเพลงได้ทุกชนิดทุกประเภท ด้วยเหตุนี้จึงได้รับการยกย่องว่าเป็น มารดาหรือผู้ให้กำเนิดดนตรี

เปียโน เป็นเครื่องดนตรีขนาดใหญ่ที่สร้างเสียงเมื่อคีย์ถูกกดและกลไกภายในเครื่องตีสาย คำว่าเปียโนเป็นตัวย่อของคำว่า ปีอาโนฟอเต(pianoforte)-ออกเสียงว่า (ปี-อ๊า-โน่-ฟอ-เต้) ซึ่งเป็นคำภาษาอิตาเลียนที่แปลว่า "เบาดัง" มาจากความสามารถของเปียโนที่จะปรับความดังเบาตามแรงที่กดคีย์ในฐานะเครื่องสาย เปียโนมีความคล้ายคลึงกับคลาวิคอร์ด (clavichord) และฮาร์ปซิคอร์ด (harpsichord) จะแตกต่างกันเพียงวิธีการสร้างเสียง สายฮาร์พซิคอร์ดจะถูกดีดหรือเกาโดยขนนก ส่วนสายของคลาวิคอร์ดจะถูกเคาะด้วยกลไกที่จะยังคงสัมผัสกับสายอยู่ตลอดเวลาหลังการเคาะ เพื่อบังคับความถี่ของการสั่น ส่วนสายเปียโนถูกเคาะด้วยลิ่มที่สะท้อนกลับในทันที เพื่อให้เกิดการสั่นของสายอย่างเป็นอิสระเปียโนเป็นเครื่องดนตรีที่ำสำคัญในดนตรีคลาสสิกตะวันตก ดนตรีแจ๊ซ ภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์ และดนตรีอีกหลายรูปแบบ เปียโนยังเป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในหมู่ชนชั้นกลางและชนชั้นสูง



เปียโนในยุคแรกเริ่ม



เปียโนถูดคิดค้นขึ้นที่เมืองฟลอเรนซ์ ประเทศอิตาลี โดยบาร์โทโลเมโอ คริสโตโฟรี. รายละเอียดเวลาที่คริสโตโฟรีประดิษฐ์เปียโนเครื่องแรกนั้นไม่ชัดเจน แต่จากบันทึกของครอบครัวเมดิชิ ผู้ที่ว่าจ้างคริสโตโฟรี ปรากฏว่ามีเปียโนตั้งแต่ปี คศ. 1700. คริสโตโฟรีสร้างเปียโนอีก 20 เครื่องก่อนที่เขาจะเสียชีวิตในปี คศ. 1731 และเปียโน 3 ตัวของเขาที่ยังคงอยู่ในปัจจุบันย้อนมาจากช่วงปี คศ. 1720.เปียโน เหมือนการพัฒนาทางเทคโนโลยีอื่นๆ มีรากฐานมาจากพัฒนาการณ์ของฮาร์ปซิคอร์ดตลอดหลายศตวรรษ ซึ่งรวมถึงขั้นตอนการผลิตแผ่นขยายเสียง โครง และ คีย์บอร์ด. คริสโตโฟรีเองก็เป็นผู้ผลิตฮาร์พซิคอร์ด.ความสำเร็จใหม่ที่สำคัญของคริสโตโฟรีคือการให้ค้อนตีสายเปียโนโดยไม่ค้างอยู่กับสาย (เพื่อให้เสียงที่ชัด). นอกจากนั้น ตัวค้อนยังจำเป็นที่จะต้องกลับสู่ตำแหน่งเดิมโดยไม่ดีดหรือเด้งอย่างรุนแรง และที่สำคัญ เปียโนยังจำเป็นที่จะเล่นโนต์ที่รัวได้.เปียโนตัวแรกๆ ของคริสโตโฟรีทำขึ้นมาด้วยสายที่บางกว่าเปียโนปัจจุบัน ทำให้เสียงนั้นเบากว่าเปียโนปัจจุบันมาก. แต่เมื่อเทียบกับคลาวิคอร์ด (เครื่องดนตรีเพียงชนิดเดียวในยุคนั้นที่สามารถควบคุมความเบาหรือดัง) เปียโนมีความดังมากกว่า.เครื่องดนตรีใหม่นี้ไม่ได้รับความสนใจมากนักจนนักเขียนชาวอิตาลีนามว่าสกีปีโอเน่ มาเฟอี (Scipione Maffei) ได้เขียนและตีพิมพ์บทความ (คศ. 1711) ที่พูดอย่างน่าตื่นตาตื่นใจถึงข้อดีของเปียโน. มาเฟอีได้รวมแบบของเปียโนไว้ในบทความ และกระตุ้นให้ผู้ผลิตอื่นๆ เริ่มที่จะสร้างเปียโนตามแบบของคริสโตโฟรี.หนึ่งในผู้ผลิตนี้คือกอตต์เฟรด ซิลเบอร์แมน (Gottfried Silbermann) ซึ่งมีชื่อเสียงในฐานะผู้ผลิตออร์แกน. เปียโนของซิลเบอร์แมนแทบจะเป็นการเลียนแบบของคริสโตโฟรี ยกเว้นสิ่งประดิษฐ์ใหม่ คือคันเหยียบที่ยกแดมเปอร (์Damper Pedal) ออกจากทุกสายในเวลาเดียวกัน. หลังจากนั้น เปียโนส่วนมากก็นำสิ่งประดิษย์ของซิลเบอร์แมนมาใช้.ซิลเบอร์แมนได้นำเปียโนของเขาไปแสดงให้โยฮัน เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach) ในช่วงปี ค.ศ. 1730 แต่บาคก็แสดงความไม่ชอบใจที่โน้ตสูงของเปียโนยังคงเบาและไม่สามารถให้ความไพเราะอย่างเต็มที่. ซิลเบอร์แมนจึงได้พัฒนาเปียโนเพิ่มขึ้นอีก จนบาคให้ความเห็นด้วยกับเปียโนของซิบเบอร์แมนราวปี ค.ศ. 1747.การผลิตเปียโนเข้าสู่ยุครุ่งเรืองในปลายศตวรรษที่ 18 โดยเฉพาะในหมู่ผู้ผลิตเปียโนแห่งกรุงเวียนนา ซึ่งรวมถึงโยฮัน แอนเดรียส สไตน (Johann Andreas Stein) และแนนเนต์ สไตน (Nannette Stein) ลูกสาวของโยฮัน แอนเดรียส. เปียโนเวียนนานั้นมีโครงไม้ สายสองเส้นต่อโน้ต และค้อนหนัง. นักประพันธ์ชื่อดังอย่างโวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart) เองก็ได้ประพันธ์เพลงเพื่อเล่นบนเปียโนชนิดนี้. เปียโนในยุคของโมซาร์ทนั้นมีเสียงที่ใสกว่าปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้มีพลังเสียงน้อยกว่าเปียโนในปัจจุบัน.



ในปัจจุบัน คำว่าฟอร์เตเปียโน (fortepiano) ใช้แยกแยะระหว่างเปียโนยุคศตวรรษที่ 18 และเปียโนในปัจจุบัน.



เปียโนในปัจจุบัน

ประเภทเปียโน



เปียโนในปัจจุบันมีรูปแบบสองรูปแบบ คือเปียโนตั้งตรงและแกรนด์เปียโน

แกรนด์เปียโน(Grand)เป็นเปียโนที่มีสายและโครงวางในแนวนอน โดยที่สายเสียงนั้นจะถูกขึงออกจากคีย์บอร์ด ซึ่งทำให้มีเสียงและลักษณะที่ต่างออกไปจากเปียโนตั้งตรงแต่จะใช้ที่ทางมาก ทั้งยังจำเป็นต้องหาห้องที่มีการสะท้อนเสียงที่พอเหมาะสำหรับคุณภาพเสียงที่ดีที่สุด ในบรรดาแกรนด์เปียโนเองยังมีหลายขนาดและประเภท ซึ่งอาจจะแตกต่างกันตามผู้ผลิตหรือรุ่น แต่ก็ยังสามารถแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ คอนเสิร์ตแกรนด์ ที่มีขนาดประมาน 3 เมตร แกรนด์ ที่มีขนาดประมาน 1.8 เมตร หรือ เบบี้แก ที่มักจะสั้นกว่าความกว้าง. เปียโนที่มีความยาวจะสร้างเสียงที่ดีกว่าและเพี้ยนน้อยกว่าเปียโนเครื่องอื่นๆ แกรนด์เปียโนใหญ่จึงเป็นที่นิยมใช้ในคอนเสิร์ต

อัพไรท์เปียโน(Upright)เป็นเปียโนที่มีสายและโครงวางในแนวตั้ง และขึงสายเปียตั้งแต่ด้านล่างจนถึงด้านบนของเปียโน แต่เปียโนประเภทนี้ไม่สามารถควบคุมการสร้างเสียงได้นุ่มนวลเท่าแกรนด์เปียโน อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเทคโนโลยีเปียโนตั้งตรงได้พัฒนาคุณภาพเสียงมากขึ้น โดยการปรับปรุงโครงสร้างใภยในให้ซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ทำให้ได้คุณภาพเสียงที่ดีขึ้นโดยใช้พื้นที่ในการตั้งวางน้อยกว่าแกรนด์ แต่ให้เสียงที่ใกล้เคียงมากขึ้นในปี ค.ศ. 1863 เฮนรี ฟอร์โนว์ (Henry Fourneaux) ประดิษฐ์เปียโนที่สามารถเล่นตัวเองได้ (player piano) โดยใช้ม้วนเหล็กที่เดินเครื่องกลในตัวเปียโนตั้งแต่ทศวรรษ 1980 เริ่มมีการผลิตเปียโนดิจิตัลขึ้นใช้ โดยเลียนแบบเสียงของเปียโน เปียโนประเภทนี้เริ่มที่จะมีความซับซ้อนและการทำงานที่มากขึ้น โดยสามารถเลียนแบบชิ้นส่วนของเปียโนจริง เช่น น้ำหนักคีย์บอร์ด คันเหยียบ และเสียงเครื่องดนตรีอื่น อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีปัจจุบันยังไม่สามารถที่จะทดแทนเปียโนเครื่องจริง

คีย์บอร์ดเปียโนสมัยใหม่เกือบทุกตัวจะมี 88 คีย์ (มากกว่า 7 Octave เล็กน้อย เรียงลำดับตั้งแต่ A0 ถึง C8) เปียโนรุ่นเก่าหลายตัวมีเพียง 85 คีย์ (ตั้งแต่ A0 ถึง A7) ผู้ผลิตบางรายก็อาจจะเพิ่มปริมาณคีย์ให้มากกว่านั้น โดยบ้างก็เพิ่มเพียงฝั่งเดียวก็เพิ่มทั้งสองฝั่ง ตัวอย่างที่ดีที่สุดก็คือเปียโนBösendorfer ซึ่งบางตัวเพิ่มคีย์เสียงต่ำลงไปกว่าปกติจนถึง F0 บางทีต่ำลงไปจนถึง C0 เลยก็มี ทำให้มีครบ 8 octave บางรุ่นอาจจะซ่อนคีย์พิเศษที่เพิ่มขึ้นมานี้ไว้ใต้ฝาปิดเล็กๆ ซึ่งสามารถปิดคีย์เอาไว้ได้เพื่อป้องกันไม่ให้นักเปียโนที่คุ้นกับเปียโนปกติเห็นแล้วเกิดความสับสนกับคีย์พิเศษที่เพิ่มขึ้นมา บางตัวก็อาจจะสลับสีคีย์พิเศษที่เพิ่มขึ้นมาเหล่านี้ (สลับดำเป็นขาว ขาวเป็นดำ) ด้วยเหตุผลเดียวกันนั่นเอง คีย์ที่เพิ่มขึ้นมานั้นโดยมากแล้วก็มีไว้เพื่อสร้างเสียงสะท้อน (resonance) ได้มากขึ้น ซึ่งก็คือมันจะสั่นไปพร้อมกับสายเปียโนเส้นอื่นๆ เมื่อใดก็ตามที่เหยียบคันเหยียบ ซึ่งก็จะให้เสียงได้เต็มกว่า มีเพลงที่แต่งขึ้นมาสำหรับเปียโนไม่กี่เพลงนักที่จะใช้คีย์พิเศษเหล่านี้ ไม่นานมานี้ บริษัท Stuart and Sons ได้ผลิตเปียโนที่มีคีย์มากกว่าปกติออกมาเช่นกัน เปียโนของบริษัทนี้จะเพิ่มคีย์เสียงแหลมขึ้นไปจนถึง 8 octave เต็ม ซึ่งคีย์พิเศษที่เพิ่มขึ้นมาก็ดูเหมือนคีย์ปกติทุกประการสำหรับการจัดเรียงคีย์บนเปียโน ให้ดูในหมวด Musical keyboard การจัดเรียงเช่นนี้ได้แบบมาจาก harpsichord โดยไม่ผิดเพี้ยน เว้นแต่สีของลิ่มคีย์ (สีขาวสำหรับเสียงปกติ และสีดำสำหรับชาร์ป sharps) ซึ่งกลายมาเป็นมาตรฐานสำหรับเปียโนในตอนปลายศตวรรษที่ 18



คันเหยียบ (Pedal)



เปียโนมีการใช้คันเหยียบหรืออุปกรณ์ที่มีลักษณะใกล้มาตั้งแต่ยุคต้นๆ (ในศตวรรษที่ 18 เปียโนบางตัวใช้แท่นแทนคันเหยียบ โดยให้ผู้เล่นใช้เข่าดันขึ้น คันเหยียบสามประเภทซึ่งได้กลายมาเป็นมาตรฐานในเปียโนปัจจุบัน ได้แก่คันเหยียบ damper pedal (บ้างก็เรียก sustain pedal หรือ loud pedal) มักจะถูกเรียกว่า "the pedal" เฉยๆเพราะว่าเป็นคันเหยียบที่ถูกใช้งานมากที่สุด ซึ่งเป็นคันเหยียบที่อยู่ทางขวาสุดคันเหยียบที่พบเห็นโดยมากที่ติดอยู่กับเปียโนนั้นโดยส่วนมากจะมีอยู่ 3 อัน หรือบางยี่ห้อหรือบางรุ่นจะมีเพียง 2 อันเท่านั้น ซึ่งจะช่วยให้การเล่นเปียโนนั้นมี dynamic ต่าง ๆ กันได้แก่

คันเหยียบอันซ้ายสุด = มีไว้เพื่อลดความดังของเปียโน ในแกรนด์เปียโน เมื่อเราเหยียบคันเหยียบอันนี้แล้ว ชุดของคีย์บอร์ดรวมทั้งไม้ฆ้อนจะขยับไปทางซ้ายหรือทางขวาเล็กน้อย เพื่อให้ไม้ฆ้อนตีถูกสายเพียงครึ่งเดียว (ปกติเปียโนจะมีสาย 1 ถึง 3 เส้น ต่อ 1 คีย์) ทำให้เสียงเบาลง ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า (Una Corda แปลว่า สายเส้นเดียว) ส่วนในอัพไรท์เปียโน เมื่อเราเหยียบคันเหยียบอันนี้แล้ว จะมีคานมาดันชุดไม้ฆ้อนให้ขยับเข้าไปใกล้กับสายมากขึ้น ทำให้เมื่อกดคีย์แล้ว ไม้ฆ้อนจะเหวี่ยงตัวได้น้อยกว่าปกติ แรงที่เคาะสายจึงน้อยลงด้วย ผลที่ตามมาก็คือ เสียงที่ค่อยกว่า และนุ่มนวลกว่า และจะได้เสียงที่นุ่มลงกว่าเดิม แต่เมื่อเรายกเท้าจากคันเหยียบอันนี้เสียงเปียโนก็จะกลับมาเป็นเหมือนเดิม


คันเหยียบอันกลาง = ในแกรนด์เปียโนเรียกว่า sostenuto pedal เมื่อเหยียบแล้ว จะดำรงเสียงของตัวโน้ตที่กดไว้ก่อนเหยียบคันเหยียบนี้เท่านั้น โดย damper จะเปิดขึ้น (โน้ตอื่นๆ ที่กดหลังจากเหยียบคันเหยียบ damper จะทำงานปกติ ทำให้เสียงสิ้นสุดเมื่อปล่อยนิ้ว) ส่วนในอัพไรท์เปียโน เรียกว่า soft pedal มีไว้เพื่อลดความดังของเปียโน เมื่อเราเหยียบคันเหยียบอันนี้แล้ว จะมีผ้ามากั้นระหว่างฆ้อนกับสาย เพราะฉะนั้นเมื่อเรากดคีย์ เสียงที่ได้จะเบาลง คันเหยีบบอันนี้มีความพิเศษก็คือ มันจะมีช่องสำหรับให้คันเหยียบอันนี้ค้างอยู่ได้ จึงทำให้เราไม่ต้องเมื่อยเมื่อต้องใช้เสียงเบา หรือต้องการใช้ dynamic แบบนี้นาน ๆ ได้ และเรายังสามารถปรับความดัง-เบา นุ่มลึกได้โดยการปรับระดับของแผ่นผ้าที่เคลื่อนลงมากั้นระหว่างฆ้อนเมื่อจะเคาะสายเปียโนได้อีกด้วย (แต่การปรับนั้นต้องเปิดฝาข้างล่างของเปียโนก่อน) ในอัพไรท์เปียโนมักใช้คันเหยียบนี้ในการซ้อมเปียโนเวลาไม่ต้องการให้มีเสียงดังมาก รบกวนคนอื่น




  • คันเหยียบอันขวาสุด = คันเหยียบอันนี้มักจะถูกใช้บ่อย ๆ ซึ่งคำว่า pedal หรือ sustain ที่เราใช้เรียกอุปกรณ์ชิ้นนี้นั้นก็มาจากการทำงานของคันเหยียบตัวนี้ นั่นคือมันมีไว้เพื่อลากเสียงของโน้ตให้ยาวขึ้น คือเมื่อเรากดคีย์เปียโน 1 ครั้งและยกมือออกจากคีย์ เสียงก็จะหยุดทันที แต่คันเหยียบตัวนี้จะทำให้เกิดโน้ตที่มีเสียงยาวขึ้นโดยที่เราไม่ต้องกดมือค้างไว้ เพื่อจะได้เล่นโน้ตตัวอื่นได้อีก ทำให้เกิด hamony ขึ้นในเพลง เพิ่มความก้องกังวาน และความไพเราะให้กับการบรรเลงเปียโนของเรามากขึ้น (การเหยียบคันเหยียบอันนี้ค้างไว้นาน ๆ นั้นไม่ได้ทำให้การบรรเลงเพลงไพเราะเลยทีเดียวนะครับ เพราะการเหยียบนาน ๆ ค้างไว้จะทำให้เสียงของโน้ตหลาย ๆ เสียงเกิดปนกัน ทำให้เกิดคู่เสียงอันไม่พึงประสงได้ เพราะฉะนั้นหากจะใช้คันเหยียบอันนี้ก็ต้องฝึกฝน ไม่ยากเกินความสามารถแน่นอน) [โด-วโรดม/chiangmai thailand]


เปียโนเป็นเครื่องดนตรีประเภท Keyboard มีลักษณะพิเศษเหนือกว่าเครื่อง ดนตรีอื่นใดเพราะเปียโนให้เสียงที่เป็นมาตรฐานจำนวน 88 เสียง ซึ่งมากที่สุดเมื่อ เทียบกับเครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ นอกจากนั้นยัง มีช่วงกว้างของเสียง (Range) มากกว่าเครื่อง ดนตรีอื่นๆ อีกด้วย กล่าวคือสามารถผลิตเสียง ที่มีระดับสูงมากและต่ำมากซึ่งเครื่องดนตรีชนิด อื่นไม่สามารถทำได้ ลักษณะพิเศษอีกประการ หนึ่งคือ สามารถใช้บรรเลงทั้งทำนอง (Melody) และเสียงประสาน (Harmony) ได้ในเวลา เดียวกันโดยมิต้องอาศัยเครื่องดนตรีอื่นๆ เล่น ประกอบ(Accompaniment) ตรงกันข้ามกับ เครื่องดนตรีชนิดอื่น ๆ ที่ต้องอาศัยเปียโนเล่น ประกอบ เช่น Violin, Flute, Oboe, Bassoon, Trumpet ฯลฯ หรือแม้แต่เสียงร้อง ของมนุษย์ซึ่งถือว่าเป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งที่ พิเศษมากแล้วก็ยังต้องอาศัยเปียโนเล่น ประกอบ เพื่อทำให้เสียงร้องนั้นเด่นชัดและ เกิดความไพเราะมากยิ่งขึ้น เปียโนมีระบบกลไกทำงานภายในแบบ แบบเครื่องจักร ทุกอย่างเป็นฝีมือจากมนุษย์ เป็นผู้ผลิตขึ้นทั้งสิ้น ระบบและกลไกดังกล่าวนี้ จะเปิดเผยออกโดยทางความรู้เชิงช่าง เพื่อ ตอบข้อสงสัยหรือตอบคำถามต่างๆ เราจะ ศึกษาระบบกลไกการทำงาน ระบบเสียง การ ซ่อมแซม การปรับปรุงแก้ไขและอื่นในตัวเปียโน ก่อนที่จะดำเนินการทางเชิงช่างดังกล่าวควรจะ ศึกษาประวัติความเป็นมาของเปียโน เพื่อความ เข้าใจระบบการทำงานซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญยิ่ง ดังต่อไปนี้



เปียโนเครื่องแรกที่มีกลไกการทำงานค่อน ข้างจะสมบูรณ์ สามารถผลิตเสียงเบาหรือดังได้ สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1726 โดยชาวอิตาเลียนชื่อ Bartolomeo Cristofori (1655-1731) ชื่อ Piano เป็นคำย่อที่ Cristofori ได้ตั้งขึ้นว่า Piano et Forte ซึ่งหมายถึง เบา และ ดัง เพราะเปียโนเป็นเครื่องดนตรีที่มีความกว้างของ เสียง (Range) ถึง 88 เสียง สามารถทำเสียง เบาและดังได้โดยใช้ระยะเวลาเพียงเสี้ยววินาที ซึ่งเครื่องดนตรี Keyboard อื่นๆ ทำไม่ได้ การที่เปียโนทำเสียงเบาและดังได้เช่นนั้น ทำให้ สามารถใช้บรรเลงเพลงซึ่งแสดงอารมณ์ต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ทำให้คนฟังได้อารมณ์สุนทรีย์ ประวัติความเป็นมาของเปียโนแบ่งได้เป็น 3 ยุค ซึ่งแต่ละยุคอาจจะมีการคาบเกี่ยวกันบ้าง ในเรื่องของระยะเวลาดังนี้
- ยุคแรกอยู่ในระหว่างปี ค.ศ. 1720- 1850 เรียกว่า Antique
- ยุคที่สองอยู่ในระหว่างปี ค.ศ. 1850- 1900 เรียกว่า Victorian
- ยุคที่สามตั้งแต่ปี ค.ศ. 1900 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน เรียกว่า Modern



1. ยุค Antique Piano (1720-1850) เปียโนที่ผลิตขึ้นมาในระยะแรกๆ เพื่อ ทดลองใช้นั้นได้มีการพัฒนาปรับปรุงแก้ไข เรื่องของกลไกต่างๆ รวมทั้ง รูปแบบ โครงสร้าง โดยใช้วัสดุหลายชนิด วัสดุบางอย่างมีอายุการ ใช้งานสั้นมาก ส่วนทรงหรือรูปแบบบางอย่าง ไม่เป็นที่นิยมจึงเลิกผลิตในเวลาต่อมา ยุคนี้ เป็นยุคแห่งการทดลอง เพื่อจะค้นหาวิธีการ ผลิตหรือสร้างเปียโนให้ดีมีคุณภาพ และเพื่อให้มีอายุการใช้งานได้ยาวนานต่อไป



2. ยุค Victorian Piano (ประมาณปี 1850) เปียโนที่ผลิตขึ้นส่วนมากมีคุณภาพค่อน ข้างดี มีมาตรฐานมากขึ้น มีการทดลองใช้วัสดุที่ คงทนถาวรจนแน่ใจว่าเหมาะสมกับชิ้นส่วน ต่างๆ มากขึ้น ในยุคนี้เปียโนผลิตออกมา 3 ชนิดคือ
2.1 Upright Piano คือ เปียโนที่มีรูป ทรงลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมทรงสูง สาย และ Soundboard จะอยู่ในแนวตั้งกับพื้น
2.2 Square Grand Piano คือ เปียโนที่ มีรูปทรงลักษณะสี่เหลี่ยมผืนผ้า สายและ Keyboard จะอยู่ในทิศทางเดียวกัน แต่ Keyboard จะอยู่ต่ำกว่าสาย อย่างไรก็ตามทั้ง สายและ Keyboard จะวางอยู่ในตำแหน่งที่ ขนานกับพื้น ปัจจุบันเปียโนชนิดนี้ไม่ผลิตออก จำหน่ายแล้ว
2.3 Grand Piano คือ เปียโนที่มีรูปทรง ลักษณะสวยงาม มีส่วนที่โค้งเว้าและส่วนตรง ประกอบกับลวดลายแกะสลักในส่วนที่วางโน้ต ขาทั้งสาม และส่วนที่เป็น Pedals สำหรับสาย จะแบ่งออกเป็น 3 ส่วนคือ ส่วนที่ผลิตเสียง กลาง (Middle Section) และส่วนที่ผลิตเสียง สูง (Treble Section) จะวางเป็นมุมตั้งแต่ 90- 80-70 และ 60 องศาตามลำดับ (ทวนเข็ม นาฬิกา) จากโน้ตสูงสุดลงไปหาโน้ตกลางๆ ของเปียโน ส่วนสายที่ผลิตเสียงต่ำ (Bass Section) จะวางเป็นมุม 80-70-60 องศาตาม ลำดับ (ตามเข็มนาฬิกา) จากโน้ตต่ำสุดขึ้นไป ยังโน้ตกลางๆ ของเปียโน ดังนั้นสายทั้งสอง ส่วนนี้จะวางในตำแหน่งแนวองศาเอียง เข้าหากัน ทำเกิดรูปทรงรูปสามเหลี่ยม ซึ่งมีผล ในการประหยัดพื้นที่และดูสวยงามมากขึ้น สำหรับกลุ่มสายที่ผลิตเสียงต่ำ (Bass Section) จะวางอยู่เหนือกลุ่มสาย Middle Section ใน บางส่วน ทั้งสาย (Strings) และ Keyboard จะวางในแนวระนาบขนานกับพื้น เปียโนที่ผลิต ในยุค Victorian ทั้ง 3 ชนิดนี้จะเป็นเปียโนที่มี คุณภาพค่อนข้างดีเกือบทั้งสิ้น



3. ยุค Modern (1900 จนถึงปัจจุบัน) เปียโนที่ผลิตหรือสร้างขึ้นในยุคใหม่นี้ได้มี การเลียนแบบการผลิตในยุค Victorian มา เกือบทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นส่วนสัด รูปทรง โครงสร้าง หรือแม้แต่ชิ้นส่วนภายในของเปียโน ยกเว้นลวดลายหรือการแกะสลักภายนอก และ วัสดุที่ใช้ผลิตเท่านั้นที่จะไม่เหมือนกับยุค Victorian จริงๆ เพราะวิทยาการสมัยใหม่ เจริญก้าวหน้าอย่างมาก มีการทดลองค้นคว้า และคำนวณตามแนวทางวิทยาศาสตร์มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องเสียงจะใช้วัสดุที่คงทน มีรูป แบบและขนาดที่มาตรฐาน โครงสร้างที่แน่นอน ลดความฟุ่มเฟือยหรูหรา เปลี่ยนแบบเป็นเรียบ ง่าย มีการเขียนแบบ คำนวณสัดส่วนที่ชัดเจน แน่นอน เปียโนแต่ละยี่ห้อจะมีวิศวกรออกแบบ โดยเฉพาะ ดังนั้นแต่ละยี่ห้อจะมีการแข่งขันกัน ในเรื่องของแบบและรูปทรง หรือการใช้ เทคโนโลยีที่ทันสมัยมากขึ้น อย่างไรก็ตาม ความแตกต่างกันนั้นน่าจะอยู่ที่ขนาด ความยาว ความกว้าง ความสูง ความหนา และการใช้วัสดุ เป็นส่วนประกอบเท่านั้น เปียโนในยุค Modern นี้ยังสามารถแบ่งได้ชัดเจนเป็น 2 ชนิดคือ
3.1 Grand Piano เป็นเปียโนที่มี ตำแหน่งของ Soundboard สาย และ Key วางในแนวระนาบขนานกับพื้น มีขนาดและชื่อ เรียกแตกต่างกันออกไปดังนี้ ขนาด 5 ฟุต 8 นิ้ว หรือ 173 เซนติเมตร หรือ เล็กกว่านี้ เรียกว่า Baby Grand ขนาด 5 ฟุต 10 นิ้ว หรือ 178 เซนติเมตร เรียกว่า Living Room Grand ขนาด 6 ฟุต หรือ 183 เซนติเมตร เรียก ว่า Professional Grand ขนาด 6 ฟุต 4 นิ้ว หรือ 193 เซนติเมตร เรียกว่า Drawing Room Grand ขนาด 5 ฟุต 8 นิ้ว ถึง 6 ฟุต 10 นิ้ว หรือ 203 - 208 เซนติเมตร เรียกว่า Parlour, Artist, Salon or Music Room Grand ขนาด 7 ฟุต 4 นิ้ว หรือ 224 เซนติเมตร เรียกว่า Half Concert or Semi Concert Grand ขนาด 8 ฟุต 11 นิ้ว หรือ 272 เซนติเมตร หรือ ใหญ่กว่า Concert or Orchestral Concert Grand
3.2 Vertical Grand Pianos เป็นเปียโน ที่ตำแหน่งของ Sound-board สาย วางในแนว ตั้งกับพื้น มีขนาดและชื่อเรียกตามลักษณะ ต่างๆ กำหนดเอาความสูงของเปียโนเป็นเกณฑ์ แบ่งออกเป็น 3 ชนิดดังนี้
3.2.1 Upright Pianos กำหนดเอา บริเวณ Action (อยู่ภายใน) ตั้งอยู่เหนือ Key-board โดยมีระยะความสูงจาก Keyboard โดยมีชิ้นส่วนที่เรียกว่า Stickers เป็น ตัวเชื่อมระหว่าง Key-board กับ Action ชิ้น ส่วนที่เรียกว่า Stickers นี้จะทำให้ Action อยู่ สูงกว่าปกติ ทำให้รูปทรงของเปียโนนี้สูง ดังนั้น สายของเปียโนชนิดนี้จะยาวกว่าชนิดอื่น Sound-board จะใหญ่และสูงตามไปด้วย เปียโน ชนิดนี้สามารถผลิตเสียงที่ดี ดังมากกว่าเปียโน ชนิดอื่นๆ
3.2.2 Console Pianos หรือบางที่เรียก ว่า Studio Upright เป็นเปียโนที่มีความสูง ขนาดกลาง สังเกตจาก Action จะพบว่าไม่มี Stickers เป็นตัวเชื่อมระหว่าง Key-board กับ Action จะมีเพียง Captain Screw แทน จึง ทำให้ Action วางติดอยู่กับ Key-board เท่านั้น ดังนั้นส่วนที่เป็นสาย หรือ Soundboard จะไม่สูงเกินไป การผลิตเสียงจึงไม่ดัง มากเท่ากับ Upright Pianos
3.2.3 Spinet Pianos เป็นเปียโนที่มี ความสูงน้อยที่สุดในบรรดา Vertical Pianos ทั้งหมด หากสังเกต Action จะพบว่า นอกจาก ไม่มี Stickers แล้ว Action จะอยู่ต่ำกว่า fKey-board บริษัทบางแห่งสามารถจะผลิต ส่วนที่เป็น Key-board ให้มีส่วนยื่นยาวและ ห้อยลงไปรองรับส่วนที่เรียกว่า Captain Screw ใต้ Action และมีบางบริษัทผลิต Stickers เหมือนกันแต่ให้ติดอยู่ด้านหลังของ Action และอ้อมกลับมาด้านหน้าอีกครั้งเพื่อ จะให้ต่อกับ Key-board ได้ ทำให้เกิดความยุ่ง ยากมากในการซ่อมแซม Action ดังนั้นทั้งสาย และ Sound-board จึงจำเป็นต้องสั้นมากที่สุด เพราะเปียโนมีส่วนสูงน้อยดังกล่าวแล้ว การ ผลิตเสียงจึงมีความกังวานน้อยตามไปด้วย



อาจสรุปได้ว่าเปียโนในสมัยใหม่แบ่งออก เป็น 2 ชนิด คือ Grand Piano และ Vertical Grand Piano โดยที่ Vertical Grand Piano ยังสามารถแบ่งออกตามลักษณะได้ 3 ลักษณะ คือ Upright, Console และ Spinet มีการ เรียกชื่อเปียโนหลายวิธีด้วยกัน ซึ่งชื่อเหล่านั้น จะบ่งบอกลักษณะของขนาด หรือไม้ที่ใช้ทำเปีย โน และการออกแบบตัวถังเปียโนมีหลาย ลักษณะเช่นเดียวกัน เช่น Spinet, Console, Upright, Baby Grand, Half Concert Grand ฯลฯ ผู้ผลิตและตัวแทนจำหน่าย มักจะ ตั้งชื่อเปียโนที่สร้างขึ้นอย่างสวยหรู โดยตั้งชื่อ ให้เกี่ยวข้องกับเปียโนชนิดที่ดีๆ ซึ่งอาจจะทำให้ ผู้คนที่พบเห็นเข้าใจผิดได้อย่างมาก เช่น คน ส่วนมากรู้ว่า Grand Piano ส่วนมากเป็น เครื่องดนตรีที่ดีกว่า Upright Piano อย่าง แน่นอน ดังนั้นผู้ผลิตหรือตัวแทนจำหน่ายมัก จะตั้งชื่อ Vertical Grand Piano ที่ผลิตขึ้นว่า Upright Grand, Studio Grand, Inverted Grand ซึ่งการตั้งชื่อแบบนั้นจะทำให้คนจำนวน มากเกิดสับสนและเข้าใจผิดคิดว่า Piano เหล่า นั้นมีคุณภาพดีเท่ากับ Grand Piano ซึ่งเมื่อมี การทดสอบกันจริงๆ แล้วปรากฏว่าไม่ได้เป็น ความจริงอย่างที่ได้โฆษณาไว้เลย แต่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพเหมาะสมตามลักษณะของตัว เปียโนเอง




วันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

เครื่องดนตรีไทยและสากล

เครื่องดนตรี





























กีตาร์เป็นเครื่องดนตรีชนิดหนึ่ง จัดเป็นพวกเครื่องสาย มักจะเล่นด้วยนิ้วมือซ้าย และดีดด้วยนิ้วมือขวาหรือใช้ปิ๊กดีดกีตาร์ เสียงของกีตาร์นั้นเกิดจากการสั่นสะเทือนของสาย ทำให้เกิดกำทอน (resonance) แก่ตัวกีตาร์และคอกีตาร์กีตาร์นั้น มีทั้งแบบกีตาร์อะคูสติก และกีตาร์ไฟฟ้า บางตัวก็เป็นได้ทั้งสองอย่าง กีตาร์มีส่วนตัวเป็นกล่องกำทอน ซึ่งในกีตาร์อะคูสติกจะเจาะเป็นช่อง ส่วนกีตาร์ไฟฟ้ามักจะตัน และมีโพรงในส่วนคอกีตาร์ โดยทั่วไปแล้วส่วนหัวของกีตาร์จะยืดขึ้นไปจากคอ เพื่อใส่ลูกบิดหมุนสายสำหรับปรับเสียง

กีตาร์เป็นเครื่องดนตรีที่นิยมใช้แพร่หลาย และใช้กับดนตรีหลากหลายสไตล์ นับเป็นเครื่องดนตรีที่นิยมใช้บรรเลงเดี่ยวอย่างกว้างขวางที่พบเห็นมากที่สุดคือกีตาร์คลาสสิก และยังเป็นเครื่องดนตรีหลักในวงดนตรีประเภทบลูส์ และดนตรีร็อกอีกด้วย กีตาร์สามารถเล่นในยามว่าง หรือ เป็นงานอดิเรก ได้ดีปกติกีตาร์จะมี 6 สาย แต่แบบ 4- 7- 8- 10- 12- สายก็มีเช่นกัน ผู้ประดิษฐ์กีตาร์จะเรียกว่า luthier

ประวัติ

เครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายกีตาร์เป็นที่นิยมมากว่า 5000 ปีเป็นอย่างต่ำ โดยเริ่มเป็นที่นิยมในแถบเอเชียกลาง เรียกว่าซิตาร่า (Sitara) เครื่องดนตรีที่มีรูปแบบคล้ายคลึงกีตาร์ที่เก่าแก่ที่สุดที่ค้นพบมีอายุ 3,300 ปี เป็นหินสลักของกวีอาณาจักรโบราณฮิตไตต์

คำว่ากีตาร์มาจากภาษาสเปนคำว่า guitarra ซึ่งมาจากภาษากรีกอีกทีคือคำว่า Kithara kithara จากหลายแหล่งที่มาทำให้คำว่ากีตาร์น่าจะมีรากศัพท์มาจากภาษาตระกูลอินโดยูโรเปียน guit- คล้ายกับภาษาสันสกฤต ที่แปลว่า ดนตรี และ -tar หมายถึง คอร์ด หรือ สาย คำว่า qitara เป็นภาษาอาราบิก ใช้เรียก Lute lute ส่วนคำว่า guitarra เกิดขึ้นเมื่อเครื่องดนตรีชนิดนี้ถูกนำมาที่ Iberia (หรือ Iberian Peninsular เป็นคาบสมุทรทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ในทวีปยุโรป) โดย Moors

กีตาร์ในยุคปัจจุบัน มาจากเครื่องดนตรีที่เรียกว่า cithara ของชาวโรมัน ซึ่งนำเข้าไปแพร่หลายในอาณาจักรฮิสปาเนีย หรือสเปนโบราณ ประมาณ ค.ศ. 40 จากนั้นเปลี่ยนแปลงรูปแบบจนกลายมาเป็น เครื่องดนตรีที่มี 4 สายเรียกว่า อู๊ด (oud) นำเข้ามาโดยชาวมัวร์ในยุคที่เข้ามาครอบครองคาบสมุทรไอบีเรียน ในศตวรรษที่ 8 ส่วนในยุโรปมีเครื่องดนตรีที่เรียกว่า ลุต (lute) ของชาวสแกนดิเนเวียมี 6 สาย ในสมัย ค.ศ. 800 เป็นเครื่องดนตรีที่ได้รับความนิยมในกลุ่มชาวไวกิ้ง ค.ศ. 1200 กีตาร์ 4 สาย มี 2 ประเภท คือ กีตาร่า มอ ริสกา หรือกีตาร์ของชาวมัวร์ มีลักษณะกลม ตัวคอกว้าง มีหลายรู กับกีตาร่า ลาติน่า ซึ่งรูปร่างคล้ายกีตาร์ในปัจจุบัน คือมีรูเดียวและคอแคบ ในศตวรรษที่ 16 เครื่องดนตรีคล้ายกีตาร์ของชาวสเปน ที่เรียกว่าวิฮูเอล่า เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะใกล้เคียงกับกีตาร์ในปัจจุบัน มีความผสมผสานระหว่างเครื่องดนตรีอู๊ดของชาวอาหรับและลูตของยุโรป แต่ได้รับความนิยมในช่วงสั้น ๆ พบเห็นจนถึงปี 1576 เครื่องดนตรีชิ้นแรกที่มีรูปลักษณ์เหมือนกีตาร์ในปัจจุบัน เกิดในช่วงยุคปลายของสมัยกลางหรือยุคต้นสมัยเรอเนสซอง (500 กว่าปีที่แล้ว) เป็นช่วงที่มีการใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายกันทั่วโลก ในยุคนั้นกีตาร์มีทั้งแบบ 4 และ 5 สาย สำหรับกีตาร์ที่มี 6 สาย ระบุว่ามีขึ้นในปี 1779 เป็นผลงานของนายแกตาโน วินาซเซีย (Gaetano Vinaccia) ในเมืองเนเปิล อิตาลี แต่ก็ถกเถียงกันว่าอาจเป็นของปลอมสำหรับตระกูลวินาซเซียมีชื่อเสียงในการผลิตแมนโดลินมาก่อน

กีตาร์ไฟฟ้าตัวแรกเริ่มผลิตขึ้นในศตวรรษที่ 20 โดยจอร์จ โบแชมป์ (George Beauchamp) ได้รับสิทธิบัตรในปี 1936 และร่วมกับ ริกเค่นแบ็กเกอร์ (Rickenbacker) ตั้งบริษัท Electro String Instrument ผลิตกีตาร์ไฟฟ้าในช่วงปลายปีทศวรรษที่ 1930 ต่อมาในช่วงทศวรรษ 1960 จอห์น เลนนอน สมาชิกวงเดอะบีทเทิลส์ใช้กีตาร์ยี่ห้อนี้ ส่งผลให้เครื่องดนตรียี่ห้อนี้มีชื่อเสียงในกลุ่มนักดนตรีในยุคนั้น และในปัจจุบันบริษัทริกเค่นแบ็กเกอร์ เป็นบริษัทผลิตกีตาร์ที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐอเมริกา[1]

ประเภทของกีตาร์

กีตาร์โปร่ง หรือ อะคูสติกกีตาร์Renaissance guitars

มีขนาดเล็กกว่ากีตาร์คลาสสิก และให้เสียงที่เบากว่ามาก

Classical guitars

กีตาร์คลาสสิก ถือเป็นต้นแบบกีตาร์ในยุคปัจจุบัน มีลูกบิดและแกนพันสายเป็นพลาสติก มีคอหรือฟิงเกอร์บอร์ดขนาดใหญ่ประมาณ 2 นิ้ว ลักษณะแบนราบ สายที่1 และ2 เป็นสายไนล่อน

Portuguese guitar

มี 12 สาย ใช้กับเพลงพื้นเพลงชื่อ Fado ในประเทศโปรตุเกส

Flat-top (steel-string) guitars

มีขนาดใหญ่กว่ากีตาร์คลาสสิก และเสริมความแข็งแรงที่คอ เพื่อรองรับแรงตึงของสาย ให้เสียงที่ใสและดังกว่า สายที่ใช้ สาย1และ2 มีลักษณะเป็นเส้นลวดเปลือย สายที่3-6 เป็นเส้นลวดและมีขดลวดเล็กๆพันเป็นเกลียวเพื่อเพิ่มขนาดของสาย

Archtop guitars

ด้านหน้าจะโค้ง โพรงเสียงไม่เป็นช่องกลม สะพานยึดสายด้านล่างมักเป็นแบบหางปลา นิยมใช้เล่นในดนตรีแจ๊ส

Resonatorหรือ Resophonic หรือ dobro คล้ายกับกีตาร์ Flat-top

string guitars

นิยมใช้ใน folk music, blues และ rock and roll มีสายโลหะ 12 สาย

Russian guitars

มี 7 สาย พบในรัสเซีย และ บางประเทศที่แยกจากสหภาพโซเวียตเท่านั้น

Acoustic bass guitars

เป็นกีตาร์เบสในรูปแบบอคูสติก มีสายและเสียงเหมือนกัน โน้ตที่เล่นจะใช้ "กุญแจฟา" ให้เสียงทุ้มต่ำ นุ่มนวล

Tenor guitars

มี 4 สาย

Harp guitars

จะมีสาย harp เพิ่มขึ้นมา จากปกติที่มี 6 สาย สาย harp จะให้เสียงต่ำหรือเสียงในช่วงเบส ปกติจะไม่มีฟิงเกอร์บอร์ดหรือเฟร็ต

Guitar battente

มีขนาดเล็กกว่ากีตาร์คลาสสิก นิยมใช้เล่นกับเครื่องสายอีก 4-5 ชิ้น



กีตาร์ไฟฟ้า

แบ่งตามโครงสร้างของลำตัวกีต้าร์ (Body) อาจแบ่งได้เป็น 3 ชนิด คือ

กีต้าร์ตัวตัน (Solid Body) หมายถึง กีต้าร์ไฟฟ้าปกติที่ลำตัวมีลักษณะตัน ไม่มีการเจาะช่องในลำตัวกีต้าร์เหมือนอย่างกีตาร์โปร่ง หรือ อะคูสติกกีตาร์ แต่บริเวณลำตัวจะมีตัวรับสัญญาณแรงสั่นสะเทือนของสายกีต้าร์ (Pick Up) ขณะที่ดีด เพื่อส่งต่อไปยังเครื่องขยายเสียง (Amplifier)ต่อไป โดยทั่วไป ตัวรับสัญญาณจะมี 2 ประเภท คือ ตัวรับสัญญาณแบบแถวเดี่ยวที่เรียกว่า Single Coil และแบบแถวคู่ที่เรียกว่า Humbucker

กีต้าร์ลำตัวกึ่งโปร่ง (Semi-Hallow Body) เป็นกีต้าร์ไฟฟ้าที่มีลักษณะโครงสร้างส่วนกลางของลำตัวในแนวเดียวกับคอกีต้าร์ มีลักษณะตัน (แต่มีการเจาะช่องเพื่อใส่ตัวรับสัญญาณแรงสั่นสะเทือนของสายกีต้าร์ (Pick Up)เช่นเดียวกับกีต้าร์ตัวตัน) บริเวณส่วนข้างของกีต้าร์มีการเจาะช่อง (Sound Hole)เอาไว้เพื่อให้เกิดการกำทอนของเสียงมากกว่ากีต้าร์ตัวตัน ซึ่งจะให้เสียงที่เป็นอคูสติกมากขึ้น นิยมใช้ในดนตรีแจ๊สหรือบลูส์ เป็นกีต้าร์ที่ผลิตขึ้นมาเพื่อลดเสียงรบกวนที่เรียกว่าFeed back ซึ่งเกิดจากกีต้าร์ไฟฟ้าลำตัวโปร่ง (กล่าวคือ ยังมีเสียงรบกวนบ้างแต่น้อยลงกว่าเดิม)

กีต้าร์ลำตัวโปร่ง (Hallow Body) คือ กีต้าร์ไฟฟ้าที่มีการเจาะช่องเอาไว้เพื่อให้เกิดการกำทอนของเสียง (Sound Hole) เช่นเดียวกับกีต้าร์โปร่งหรืออคูสติก และกีต้าร์ลำตัวกึ่งโปร่ง ปกติช่องดังกล่าวมักจะอยู่ด้านข้างของลำตัวกีต้าร์ เนื่องจากบริเวณกลางลำตัวจะมีการใส่ตัวรับสัญญาณแรงสั่นสะเทือนของสายกีต้าร์ (Pick Up)เช่นเดียวกันกับกีต้าร์ตัวตัน ซึ่งผลของการที่มีช่องกำทอนเสียง ทำให้ลักษณะของเนื้อเสียงที่ได้เป็นอคูสติกมากกว่า กีต้าร์ Semi-Hallow Body แต่หากขยายเสียงให้ดังมากจะก่อให้เกิดเสียงรบกวนที่เรียกว่า Feed back กีต้าร์ประเภทนี้มักจะนิยมใช้กับดนตรีแจ๊สหรือบลูส์เป็นส่วนใหญ่

ส่วนประกอบของ อะคูสติคกีตาร์

ไม้ข้าง และไม้หลัง หรือ back & side ของ acoustic guitar เมื่อเทียบกับประเภทของไม้ที่ถูกนำมาใช้ด้านหน้าของกีต้าร์แล้ว ไม้ที่ถูกนำมาใช้เป็นแผ่นหลังและข้างนั้น มีมากมายหลายชนิดกว่า อาจแบ่งออกกว้างๆ เป็นตระกูล Rosewood, Walnut, Maple, Koa, Mahogany รวมไปถึงไม้แปลกๆ ใหม่ๆ ที่กำลังเป็นที่นิยม และพวกที่ยังไม่ค่อยแพร่หลายนัก เพื่อความสะดวกและเข้าใจได้ง่าย ผู้เขียนจะแบ่งประเภทของไม้ออกเป็นจำพวกคร่าว ๆ ดังนี้

1.Rosewood
2.Mahogan
3.Koa
4.Maple
5.Walnut
6.Ziricote (Cordia Dodecandra)
7.Macassar Ebony (Diospyrus Celebica)
8.Myrtewood
9.African Blackwood
10.African Paduk
11.Imbuia
12.Cherry


ไม้หน้า หรือ Top ของ Acoustic Guitar

1.Sitka Spruce
2.Englemann Spruce
3.Red Spruce
4.German Spruce
5.Alpine Spruce
6.Cedar
7.Port Orford Cedar
8.Redwood
9.Western Larch

เบส เป็นเครื่องดนตรีประเภทเครื่องสาย ในทางสากลสามารถเรียกได้ทั้ง electric bass (เบสไฟฟ้า) , electric bass guitar (กีตาร์เบสไฟฟ้า) หรือเรียกสั้นๆว่า bass (เบส) ลักษณะของเบสจะมีรูปร่างใหญ่กว่ากีตาร์ มีโครงสร้างของคอที่ใหญ่และยาวกว่า มีย่านความถี่เสียงต่ำ มีหน้าที่โดยหลักๆในการให้จังหวะ คือคุมจังหวะตาม rhythm, line, pattern และ groove ของดนตรี ในขณะเดียวกันก็สามารถขยายระดับความสามารถการเล่นให้สูงขึ้นตามแนวเพลงและการประยุกต์ใช้ต่างๆ เช่น เทคนิคการ Slap หรือการตบเบส (รวมไปถึงเทคนิคอื่นที่ใช้ร่วมกันกับการ Slap) ในดนตรี Funk, Jazz และอีกหลายแนว การจิ้มสาย การโซโล่ การเล่น Harmonics การเล่น Picking เป็นต้น

เบสไฟฟ้าจัดว่าเป็นเครื่องดนตรีที่ถือกำเนิดหลังเครื่องดนตรีอื่นๆในประเภทวงสตริงคือสร้างขึ้นหลัง กีตาร์ กลอง คีย์บอร์ดหรือซินธิไซเซอร์ (รายละเอียดจะมีในหัวข้อประวัติของเบส) เครื่องดนตรีประเภทเบสที่ใช้กันในวงดนตรีและแนวต่างๆก็จะมี เบสไฟฟ้า เบสโปร่งไฟฟ้า fretless bass (เบสไม่มีเฟรต) และ double bass, upright bass บ้างทีก็เรียกกันว่า acoustic bass แต่ก็มีภาษาพูดเรียกกันติดปากสำหรับนักดนตรีบางคนว่า เบสใหญ่

เบสไฟฟ้าที่ใช้โดยทั่วไปจะมี 4 สาย 5 สาย และ 6 สาย ส่วนสายที่มากไปกว่านี้ก็มีเนื่องจากนักดนตรีบางคนอาจจะออกแบบเพื่อประยุกต์ใช้ทางการเล่นเฉพาะตัว

เบส 4 สายการตั้งสายตามมาตรฐานคือ E-A-D-G (เรียงจากต่ำ-สูง) เบส 5 สายคือ B-E-A-D-G ส่วน 6 สายคือ B-E-A-D-G-C แต่อย่างไรก็ตามเบสก็ได้ถูกขยายขอบเขตออกไปตามแนวคิดและการประยุกต์ใช้ของมือเบสต่างๆ จำนวนสายก็อาจจะมีอื่นๆอีก เช่น 3 สาย, 7 สาย, 8 สาย ,9 สาย เป็นต้น

ประวัติ

เมื่อกล่าวถึง Bassline เริ่มเป็นที่รู้จักกันในวงการดนตรี โดยเริ่มได้ยิน เช่นในบทเพลงของ J.S. Bach ระหว่างปี 1685-1750 ซึ่ง bassline มีความ สำคัญเฉกเช่นเดียวกับในส่วนของ soprano , alto , tenor เลยที่เดียว โดยในดนตรีคลาสสิก และออร์เคสตรา เสียงเบสจะถูกกำหนดขึ้นโดยเครื่องดนตรีที่มีชื่อว่า upright bass หรือ bass viola ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีตระกูลเบสรุ่นแรกในโลกต่อมาเมื่อเริ่มมีดนตรีของคนแอฟริกัน คือ Ragtime (ดนตรีแนวเต้นรำของชาวแอฟริกัน) และ New Orleans Jazz โดยมีอุปกรณ์เสียงต่ำที่เล่นจาก brass bass และ tuba เนื่องจากเป็นการเล่นโดยใช้ลมหายใจในการเป่า ที่ใช้ทูบาในการเล่นเป็นจังหวะ 2 beat ใน 1 bar และนี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของเพลง jazz และเพลงเต้นรำ

เมื่อเพลงแจ๊ซมีการพัฒนาและเกิดการวิวัฒนาการขึ้นเป็นจังหวะ swing ในปี 1935 การแต่งและการเรียบเรียงดนตรีจึงเกิดมีความซับซ้อนและยุ่งยากตามมา แต่ในขณะนั้น ได้มีในงานดนตรีที่มีชื่อเสียงในวงการเพลงแจ๊ซ เช่น Duke Ellington , Count Basie and Benny Goodman และจังหวะแบบ 4 จังหวะ ใน 1 ห้องเพลง เริ่มเป็นที่แพร่หลายและนำไปใช้กันมากขึ้น ตั้งแต่ที่ brass bass ไม่สามารถที่จะเล่นในจังหวะนี้ได้ Acoustic upright bass จึงได้เป็นอุปกรณ์ชิ้นสำคัญที่ขึ้นมาแทนที่ brass bass อย่างไรก็ตาม Acoustic upright bass ก็มีข้อจำกัดของมันเองอยู่เหมือนกัน ในเรื่อง ของลำตัวที่ค่อนข้างใหญ่พกพายาก และมีน้ำเสียงที่ไม่สามารถดังดีพอและเหมาะสมในการเล่นร่วมกับวงดนตรีประเภท Big band ที่มีเครื่องดนตรีหลากหลายชิ้น เช่น brass จำนวน 7 ตัว ,เปียโน ,กีต้าร์ กลอง สิ่งนี้จึงมีการเกิดปัญหาต่อในหมู่คนเล่นเบสต่อมาจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการประดิษฐ์ เบสไฟฟ้าขึ้นมาตัวแรกของโลก เบสไฟฟ้าตัวแรกของโลก ถูกประดิษฐ์ขึ้นมาโดย Clarence Leo Fender ในปี 1951 จากบริษัท Fender Musical Intrumental Company (บริษัทเดียวกับที่ผลิตกีตาร์ Fender) ร่วมกันผลิตเบสที่มีชื่อรุ่นว่า Precision bass โดย Leo Fender ได้ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อการแก้ไขปัญหาของเบสรุ่นเก่าที่มีปัญหาในเรื่องของเสียงและขนาดที่ใหญ่ของ Acoustic upright bass ซึ่งเขาได้ตั้งชื่อรุ่นว่า Precision bass เพื่อให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย ที่แปลว่า "เบสที่มีความกระชับ " โดยมีการใช้เฟร็ทติดลงบน Fingerboard และ แก้ไขในเรื่องของน้ำเสียงให้ดีขึ้น






American Vintage ‘62 Precision Bass?






Leo Fender กล่าวว่า "พวกเราต้องให้ความเป็นอิสระแก่มือเบสจาก Acoustic upright bassการผลิตเบสจึงเป็นการเกิดอุตสาหกรรมการผลิตเบสขึ้นเป็นครั้งแรก โดยความร่วมมือกับ George Fullerton Precision Bass รุ่นนี้มีการสร้างเฟรทที่ลำคอ มีลักษณะเป็น slab-bodied และ มี 34" scale ต่อมาเบสรุ่นนี้จึงเป็นที่นิยมในหมู่นักดนตรีระดับโลก ในทุก ๆ แขนงทางดนตรี เช่น Monk Montgomery ,Shifti Henri ,Dave Myers

วงของ Vibist Lionel Hampton นับเป็นรุ่นแรกที่นำ P-Bass ไปใช้ในการแสดง โดยมือเบสของเขา คือ Roy Johnson และเบสตัวนี้มีเสียงที่ออกมาได้อย่างน่าทึ่งมาก จากคำวิจารณ์ของ Leonard Feather ซึ่งได้เขียนในนิตยสาร Down Beat เมื่อ 30 กรกฎาคม 1952 หลังจาก Roy Johnson ออกจากวงของ Hampton Monk Montgomery จึงเป็นบุคคลแรกที่สามารถสร้างชื่อเสียงขึ้นจากเบสตัวนี้ แต่เขาก็ยังคงใช้ upright bass ในการเล่นควบคู่กันไปในวงของเขา กับมือกีตาร์คือ Wes Montgomery (มือกีตาร์ฝีมือดีแห่งวงการ) ซึ่งเป็นน้องชายเขานอกจากนี้ นักดนตรี Blues ก็นำเอาเบสรุ่นนี้ไปใช้ในบทเพลงเช่นเดียวกัน โดยในปี 1958 Dave Myers ได้นำ Precision Bass ไปใช้ในการบันทึกเสียงเบส ที่สร้างความสำเร็จให้แก่นักดนตรี Blues สมัยนั้นอย่างมากมาย โดย เขาได้พูดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม ปี 1998 ว่า "ผมสร้างความประสบความสำเร็จให้กับ Fender Bass.."







Previous Post Back to Top